วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 3 การแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ

แนวคิดเชิงระบบเพื่อการแก้ปัญหา (Systms Approach to Problem Solving)เป็นข้อมูลที่ได้จากพนักงานอย่างไรและทำอย่างไรให้เป็นระบบที่จะช่วยพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีเพื่อหาคำตอบในกระบวนการแก้ไขปัญหานี้อย่างไรจะเรียกว่าแนวคิดเชิงระบบ
                แนวคิดเชิงระบบ(
Systems Approach) คือการแสดงถึงการปฏิวัตการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวงการธุรกิจ ซึ้งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการทำงานของกลุ่มเป้าหมายออลไลน์ จะช่วยในการพัฒนาสินค้าช่วยสนับสนุนด้านลูกค้าหรืองานอื่นๆระบบสารสนเทศอินเทอร์เน็ตจึงเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันและเพิ่มบทบาทในธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยให้ธุรกิจทุกประเภทปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในขั้นตอนการทำงานของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ทั้งการจัดการด้านการตัดสินใจและการร่วมมือในการทำงานเป็นกลุ่มความแข็งแกร่งในการต่อสู้ในเชิงธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
                กำหนดปัญหาและแนวทางแก้ไขคือปัญหาและแนวทางแก้ไขได้ถูกกำหนดให้เป็นขั้นตอนแรกของแนวคิดเชิงระบบ ปัญหาสามารถให้คำจำกัดความได้ว่าเป็นภาวะพื้นฐานที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ แนวทางแก้ไขคือภาวะพื้นฐานที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
                การพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาอื่นๆมีแนวทางในการปัญหาหลายวิธี อย่าใช้วิธีการแก้ปัญหาเพียงวิธีเดียวหลังจากที่กำหนดปัญหาอย่างเร่งรีบเพราะมันจะจำกัดทางเลือกของคุณและขโมยโอกาสในการวิเคราะห์ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบและข้อเปรียบของทางเลือกอื่นๆ แหล่งข้อมูลที่ดีของเลือกอื่นๆจะได้จากคนอื่นๆจะได้จาก ประสบการณ์หรือแนวทางที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วในอดีต
                การประเมินทางเลือกในการแก้ไขปัญหาอื่นๆ เมื่อทางเลือกในการแก้ไขปัญหาได้ถูกพัฒนาขึ้นให้ประเมินหาข้อสรุปหาวิธีทางในการแก้ไขปัญหาใดที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจและความต้องการของบุคลากรมากที่สุด ความต้องการเหล่านี้คือกุญแจสำคัญที่จำเป็นต่อความสำเร็จทั้งด้านบุคลากรและธุรกิจ
การเลือกแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด เมื่อประเมินแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยสามารถประเมินเปรียบเทียบจากหลักเกณฑ์เดียวกัน
                การออกแบบและนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาไปใช้จริง(Design and Implementing a Solution)
เมื่อเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหาล้วงจะต้องมีการออกแบบและนำไปประยุกต์ใช้จริงโดยอาศัยผู้ใช้เจ้าหน้าที่เทคนิคเพื่อช่วยในการออกแบบรายละเอียดและการนำไปใช้ปกติการออกแบบรายละเอียดจะกำหนดรายละเอือดในด้านต่างๆทั้งประสิทธิภาพของบุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แหล่งข้อมูลแล้วงานที่จะต้องทำเมื่อมีการใช้ระบบใหม่แผนการนำไปประยุคใช้ประกอบด้วย
1.ประเภทแหล่งของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ ที่ต้องจัดหาสำหรับพนักงานขาย
2.ขั้นตอนในการสนับสนุนระบบการขายใหม่
3.การฝึกอบรมพนักงานขายและพนักงานอื่นๆ
4.การปรับระบบเดิมเข้าสู่ระบบใหม่และกำหนดตารางเวลาในการนำไปใช้จริง
                การประเมินหลังการนำไปใช้
ขั้นตอนสุดท้ายของแนวคิดเชิงระบบ คือ การตระหนักว่าแนวทางแก้ปัญหาที่นำไปใช้ เป้าหมายคือ


การประเมินของแนวทางการแก้ไขปัญหา
การประเมินของแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบที่
1
ข้อได้เปรียบ
1.ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการอบรมพนักงานใหม่ต่ำ
2.สะดวกและมีคู้มือที่ง่ายแก่การใช้ของพนักงานขาย
3.การเพิ่มยอดขายขึ้นอยู่กับการขายของพนักงานแต่ละคนและบริการที่ให้กับลูกค้าตามจำนวนพนักงานมี่เพิ่มขึ้น
4.ข้อมูลที่ผู้จัดการได้รับจะนำไปสู่การใช้ในการบริหารเวลาและปรับปรุงการตัดสินใจที่ดีกว่าเดิม

ข้อเสียเปรียบ
1.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเนื่องจากพนักงานมากขึ้น
2.กระบวนการในการขยายใช้เวลาสำหรับพนักงานขายแต่ละราย
3.ข้อมูลคบวนการด้านการขายไม่เป็นปัจจุบัน(เป็นข้อมูลเก่าเมื้อหลายวันก่อน)
4.ไม่สามารถใช้ได้กับระบบการตลาดที่ทันสมัยการกระจ่ายสินค้าและระบบอื่นที่วางแผนไว้
5.ไม่สามารถใช้ได้กับแผนขององค์กรที่ใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อลดค่าใช้จ่ายและส่งเสริมด้านการขายและการบริการ

อ้างอิง
จากเอกสารประกอบการเรียนวิชา ระบบสาระสนเทศเพื่อการวางแผนทางการบริหาร
อาจารย์ ทาริกา รัตนโสภา

กรณีศึกษาจริง
Camelot Music : แก้ไขปัญหาทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • บริษัท : คามิลอทมิวสิค ตั้งอยู่ที่นอร์ธแคนตัน รัฐโอไฮโอ ทำกิจการค้าปลีกซีดีรอมและเทปในห้างสรรพสินค้า มีลูกจ้าง 5,000 คนใน 310 สาขาทั่วสหรัฐ
  • ปัญหา : มีการแข่งขันกับร้านค้าปลีกที่ใหญ่กว่า อาทิเช่น Best Buy และ Circuit City ในขณะเดียวกันก็ยังต้องแข่งขันกับร้านค้าขนาดเล็กด้วย จึงใช้เกณฑ์การตั้งราคาขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้าหรือสถานการณ์ในการแข่งขัน และลดราคาให้แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการบ่อยๆ
  • แนวทางในการแก้ปัญหา : ใช้ซอฟต์แวร์ในการตั้งราคาให้หลากหลาย เพื่อดึงดูดและเก็บรักษาลูกค้าไว้
  • โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ : Richter System ทำงานบน Hewlett-Packard 9000 Server Camelot’s Data Warehouse ทำงานบน ICL Gold Rush Mega Server ใช้ฐานข้อมูล Informix และซอฟต์แวร์ Micro Strategies DSS
  • ค่าใช้จ่ายของการใช้เทคโนโลยี : ระหว่าง 750,000 - 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหานี้
  • สิ่งที่จะได้รับกลับคืน : (Return of Investment : RO I) เพื่อเพิ่มยอดขายอย่างน้อย 1 ใน 10 ของ 1 % ซึ่งจะทำให้เกิดการสะสมของรายได้ อันจะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนจากการลงทุนในอีก 2 ปีข้างหน้า
ชาลี มาช CIO ของบริษัทต้องเผชิญกับปัญหายอดขายตกในแต่ละสาขา และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการค้าปลีกขนาดใหญ่และในห้างสรรพสินค้า มาชได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการตั้งราคาโดยขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้ง ร้านค้า สถานการณ์ในการแข่งขัน และให้ส่วนลดแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการบ่อย ซึ่งกุญแจของความสำเร็จ คือ โครงสร้างการตั้งราคาขายไม่ตายตัว ที่ใช้ซอฟต์แวร์ Richter Automated Merchandising Systems (RAMS)
ในอดีต ผู้บริหารของบริษัทไม่ได้กังวลถึงคู่แข่งอย่าง Best Buy และ Circuit City และร้านค้าอื่นๆ มากนัก เนื่องจากร้านเหล่านั้นขายสินค้าน้อยกว่า แต่ 3 ปีที่ผ่านมาเกมส์ทางธุรกิจได้เปลี่ยนไป Best Buy ตั้งราคาขายถูกกว่า 2-5 เหรียญ อันทำให้ยอดขายของบริษัทลดลง เมื่อสนามแข่งขันทางการค้าได้เปลี่ยนไป บริษัทจึงปรับปรุงตัวเองและกำหนดราคาขายที่ดีกว่าคู่แข่งเพื่อให้สามารถอยู่ได้ในเกมส์นี้ แต่ปัญหาคือ เกณฑ์การตั้งราคาแบบใดจึงจะเหมาะสมกับการแข่งขัน ในขณะที่สาขาบางแห่งก็ไม่ได้แข่งขันกับใครเลย
บริษัทได้ติดตั้ง RAMS ทำงานบน HP 9000 Enterprise Server ดำเนินงานด้านระบบการตลาดสำหรับลูกค้าบนซอฟต์แวร์คลังข้อมูล และใช้ Corema ในส่วนของการบริหารการตลาดเชิงลูกค้าสัมพันธ์ เพื่อเก็บรายชื่อลูกค้า 2.25 ล้านรายที่ซื้อสินค้าที่ซื้อบ่อย เพื่อให้คูปอง 5 เหรียญสำหรับการซื้อครั้งต่อไป
ผลที่ได้ หลังจากนั้น 2 เดือน ลูกค้าที่มาใช้บริการบ่อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์กลับมาซื้อสินค้าอีก

ที่มา : http://www.spu.ac.th/~ktm/index12.html

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น