วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุป บทที่ 5

สรุป บทที่ 5 เรื่อง อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และความร่วมมือระหว่างองค์กร

อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต
             อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมือนอินเทอร์เน็ตภายในองค์กร เพื่อการแบ่งปันสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร ความร่วมมือ และการสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ อินทราเน็ตได้รับการป้องกันด้วยมาตรฐานความปลอดภัย เฉพาะสมาชิกเท่านั้น
การประยุกต์ใช้อินทราเน็ต
            บริษัทต่างๆใช้เทคโนโลยีอินทราเน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูล เป็นเครื่องมือความร่วมมือ เก็บประวัติส่วนตัวของลูกค้า เชื่อต่อไปยังอินเทอร์เน็ต และคิดว่าการลงทุนในอินทราเน็ตเป็นเรื่องพื้นฐานเหมือนการติดตั้งโทรศัพท์ให้แกพนักงาน
การสื่อสารและความร่วมมือ อินทราเน็ตสามารถปรับปรุงและความมือภายในองค์กร
งานสิ่งพิมพ์บนเว็บ มีความง่าย ความสวยงามน่าสนใจ ต้นทุนที่ต่ำของการจัดพิมพ์และการเข้าถึงสารสนเทศธุรกิจสื่อประสมภายในผ่านเว็บไซท์อินอินทราเน็ต
การดำเนินธุรกิจและการจัดการ อินทราเน็ตถูกใช้เป็นฐานงานสำหรับการพัฒนาและนำมาใช้กับโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและตัดสินใจด้านการจัดการระหว่างองค์กร
จากอินทราเน็ตของ Sun ทำให้ได้ความคิดที่ดีสำหรับโปรแกรมประยุกต์และบริการที่ธุรกิจสามารถนำมาให้พนักงานใช้บนอินทราเน็ต ดังนี้
- กการเรียกดู 3 แบบ ได้แก่ การเรียกดูระดับองค์กร การเรียกดูตามหน้าที่ และ
การเรียกดูตามภูมิศาสตร์
-   อะไรใหม่ๆ - การเดินทาง
ห้องสมุดและการศึกษา - ทรัพยากรมนุษย์และสิทธิประโยชน์
- กการตลาดและการขาย - วิทยาเขตของ Sun
- สการบัญแฟ้มผลิตภัณฑ์ - ชุดบริการ
การสนเทศทางวิศวกรรม - ชุดเครื่องมือก่อสร้าง
ทรัพยากรเทคโนโลยีอินทราเน็ตอินทราเน็ตเป็นเครือข่ายภายในองค์กรที่มีลักษณะเหมือนอินเทอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นไปได้ ดังนั้น อินทราเน็ตจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของเว็บบราวเซอร์ แม่ข่าย เครือข่ายรับและให้บริการ และฐานข้อมูลสื่อหลายมิติที่สามารถเข้าถึงได้บนอินทราเน็ตและ WWW

มูลค่าทางธุรกิจของอินทราเน็ต
- กการประหยัดต้นทุนงานสิ่งพิมพ์ ช่วยลดการพิมพ์ การส่งไปรษณีย์ และการกระจายต้นทุน
การประหยัดต้นทุนการอบรมและการพัฒนา การเข้าถึงสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์จัดพิมพ์เว็บสำหรับอินทราเน็ตที่ง่ายกว่าวิธีการเดิมมาก

บทบาทของเอ็กซ์ทราเน็ต
ธุรกิจยังคงใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบเปิดหรือเอ็กซ์ทราเน็ตอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและหุ้นส่วน ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน ในการพัฒนาสินค้าและเพิ่มความเป็นหุ้นส่วน
มูลค่าทางธุรกิจของเอ็กซ์ทราเน็ตได้มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ เทคโนโลยีเว็บบราวเซอร์ของเอ็กซ์เน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ตทำให้บริษัทสามารถเสนอบริการเชิงเว็บประเภทใหม่ที่น่าสนใจให้แก่หุ้นส่วนทางธุรกิจ

ระบบความร่วมมือองค์กร
เป้าหมายของระบบความร่วมมือองค์กร คือ การสามารถทำงานร่วมกันที่ง่ายขึ้นมีประสิทธิภาพขึ้น ดังนี้
- ก       1. การติดต่อสื่อสาร แบ่งปันสารสนเทศกับผู้อื่น
- ก       2. การประสานงาน ประสานความพยายามในเรื่องงานของแต่ละบุคคลและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ความร่วมมือ ทำงานร่วมกันในโครงการร่วมและงานที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนประกอบของระบบความร่วมมือองค์กร

เป็นระบบสารสนเทศ ดังนั้น จึงใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ข้อมูลและครือข่าย เพื่อนสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และความร่วมมือระหว่างสมาของทีม

กรุ๊ปแวร์สำหรับความร่วมมือองค์กร กรุ๊ปแวร์ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้ใช้หลายคนใช้สารสนเทศร่วมกันกับผู้อื่นและทำงานร่วมกันในหลายๆโครงการ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน โปรแกรมการจัดการติดต่อบนเครือข่ายสำเร็จรูปและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงโปรแกรมการใช้เอกสารร่วมกัน

เครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในธุรกิจ

- โทรศัพท์อินเทอร์เน็ตและโทรสาร เป็นเครื่องมือที่ต้นทุนต่ำและใกล้ที่จะเป็นสื่อสารสากลช่วยในการส่งโทรสาร รับไปรษณีย์เสียง และนำสู้การสนทนาสองทาง

- งานสิ่งพิมพ์บนเว็บ เป็นเครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญสำหรับความร่วมมือองค์กร ได้แก่ ซอฟต์แวร์โปรแกรมประยุกต์

เครื่องมือการประชุมอิเล็กทรอนิกส์

ช่วยให้ผู้ใช้ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งปันสารสนเทศทำงานร่วมกันที่ได้รับหมอบหมาย ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดก็ตาม

- การประชุมข้อมูล ผู้ใช้ที่เครื่องลูกข่าย สามารถเรียกดูแก้ไข ปรับปรุง บันทึกการแก้ไขลงที่กระดาษสีขาว เอกสาร และสิ่งอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกัน

- การประชุมเสียง การสนทนาทางโทรศัพท์ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนร่วมผ่านทางโทรศัพท์หรือเครื่องลูกข่ายด้วยซอฟต์แวร์โทรศัพท์อินเทอร์เน็ต

- การประชุมทางวีดีทัศน์ แบบทันทีและการประชุมทางไกลโดยเสียง ระหว่างผู้ใช้ที่เครื่องลูกข่ายหรือระหว่างผู้มีส่วนร่วมในห้องประชุมที่ต่างสถาบันกัน รวมการใช้กระดาษสีขาวและการแบ่งปันเอกสาร

- กลุ่มหรือชุมชนสนทนา เตรียมระบบสารสนเทศเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อกระตุ้นและจัดการสนทนาข้อความแบบออนไลน์ในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างสมาชิกกลุ่มที่มีความสนใจพิเศษหรือทีมโครงการ

- ระบบพูดคุย การทำให้ผู้ใช้สองคนหรือมากกว่าบนเครื่องลูกข่ายสามารถสนทนาข้อความแบบออนไลน์ได้แบบทันที

- ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ห้องประชุมกับเครื่องลูกข่าย โดยเครื่องฉายภาพจอภาพขนาดใหญ่ และซอฟต์แวร์ EMS เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร การให้ความร่วมมือและการตัดสินใจของกลุ่มในระหว่างการประชุมทางธุรกิจ

เครื่องมือการจัดการงานที่ทำร่วมกันช่วยให้คนทำงานได้สำเร็จหรือจัดการกิจกรรมที่ทำงานร่วมกัน

- ปฎิทินและกำหนดการ การใช้ปฏิทินอิเล็กทรอนิกส์และคุณสมบัติอื่นของกรุ๊ปแวร์เพื่อทำกำหนดการ บอกล่าว หรือเตือนอัตโนมัติแก่สมาชิกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของทีมและกลุ่มร่วมงานของการประชุม การนัดหมายและเหตุการณ์อื่นๆ

- งานและการจัดการโครงการ จัดการทีมและกลุ่มร่วมงานโครงการด้วยกำหนดการ การติดตามและทำแผนภูมิสถานะความสำเร็จของงานภายใต้โครงการ

- ระบบกระแสงาน ช่วยให้คนงานที่มีความรู้เครือข่ายร่วมมือเพื่อทำงานให้สำเร็จและจัดการการไหลของงานที่มีโครงสร้างและการประมวลผลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ภายในกระบวนการทางธุรกิจ

- การจัดการความรู้ จัดระเบียบและแบ่งปันแบบฟอร์มของสารสนเทศทางธุรกิจที่สร้างภายในองค์กร รวมทั้งการจัดการโครงการและห้องสมุดเอกสารองค์กร ฐานข้อมูลการสนทนา ฐานข้อมูลเว็บไซท์สื่อหลายมิติ และฐานความรู้ประเภทอื่นๆ

คำถามท้ายบทที่ 4

แบบฝึกหัดท้าย บทที่ 4


1.ทำอย่างไร ที่องค์กรธุรกิจ ที่องค์กรธุรกิจสามารถที่จะใช้เครือข่ายระหว่างองค์กร ในการจัดเก็บ เข้าถึงและแจกจ่ายข้อมูล และสารสนเทศ ไปยังหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกได้
ตอบ ประเภทเครือข่ายในองค์กร
1. ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายๆ เครือข่าย ที่มีการเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน โดยที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลก
2. ระบบอินทราเน็ต (Intranet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อสารภายในกลุ่มขององค์กรนั้น ๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต (Inernet) เป็นพื้นฐาน
3. ระบบเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่มีอินทราเน็ตเข้าด้วยกัน การใช้เอ็กซ์ทราเน็ตนั้น องค์กรที่เชื่อมกันอยู่จะสามารถแบ่งข้อมูลภายในได้ตลอดเวลาระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตของตนกับองค์กรอื่น ๆ หรือผู้ใช้บริการได้อย่างปลอดภัย
ที่มา: http://home.kku.ac.th/regis/student/kk/page4.html
2.อะไรคือบทบาทของจัดการฐานข้อมูล การบริหารฐานข้อมูล และการวางแผนที่จะใช้ข้อมูลมาเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ
ตอบ การจัดการฐานข้อมูล(Database Management) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้ของโปรแกรมประยุกต์อย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล รวมทั้งความขัดแย้งของข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์การ ในอดีตการเก็บข้อมูลมักจะเป็นอิสระต่อกันไม่มีการเชื่อมโยงของข้อมูลเกิดการ สิ้นเปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูล เช่น องค์การหนึ่งจะมีแฟ้มบุคคล (Personnel) แฟ้มเงินเดือน (Payroll) และแฟ้ม สวัสดิการ (Benefits) อยู่แยกจากกัน เวลาผู้บริหารต้องการข้อมูลของพนักงานท่านใดจำเป็นจะต้องเรียกดูแฟ้มข้อมูลทั้ง 3 แฟ้ม ซึ่งเป็นการไม่สะดวก จงทำให้เกิดแนวความคิดในการรวมแฟ้มข้อมูลทั้ง 3 เข้าด้วยกันแล้วเก็บไว้ที่ ศูนย์กลางในลักษณะฐานข้อมูล (Database) จึงทำให้เกิดระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management system (DBMS) ซึ่งจะต้องอาศัยโปรแกรมเฉพาะในการสร้างและบำรุงรักษา (Create and Maintenance) ฐาน ข้อมูลและสามารถที่จะให้ผู้ใช้ประยุกต์ใช้กับธุรกิจส่วนตัวได้โดยการดึงข้อมูล (Retrieve) ขึ้นมาแล้วใช้โปรแกรมสำเร็จรูปอื่นสร้างงานขึ้นมาโดยใช้ข้อมูลทีมีอยู่ในฐานข้อมูล แสดงการรวมแฟ้มข้อมูล 3 แฟ้มเข้าด้วยกัน


ที่มา:http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Database/database3.htm


การบริหารฐานข้อมูล ในระบบฐานข้อมูลนอกจากจะมีระบบการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อจัดการกับข้อมูลให้เป็นระบบ จะได้นำไปเก็บรักษา เรียกใช้ หรือนำมาปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่ายแล้ว ในระบบฐานข้อมูลยังต้องประกอบด้วยบุคคลที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลระบบฐานข้อมูล คือ ผู้บริหารฐานข้อมูล




แผนธุรกิจ หรือ Business Plan คือแผนการดำเนินงานของธุรกิจ หรือโครงการหนึ่งๆ ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้น 1 – 3 ปี และในระยะยาว 3 – 5 ปี อันประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อธุรกิจทั้งทางด้านมหภาค (Macro Analysis) และจุลภาค (Micro Analysis) การวิเคราะห์ธุรกิจของโครงการในแง่มุมต่างๆ ทั้งทางด้านการตลาด ทางด้านการดำเนินงาน ทีมผู้บริหาร และทางด้านการเงิน เพื่อเป็นการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ และเป็นกรอบในการดำเนินธุรกิจ แนวทางการพัฒนาธุรกิจในอนาคต




3. อะไรคือประโยชน์ของแนวคิดในการรวบรวมฐานข้อมูล การเข้าถึง และการจัดการทรัพยากรข้อมูล จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ผู้ใช้ควรมีทรรศนะต่อข้อมูลว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่ต้องเรียนรู้การจัดการที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจในความสำเร็จและความอยู่รอดขององค์กร การจัดการฐานข้อมูลเป็นส่วนสำคัญของโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศสำหรับจัดการทรัพยากรข้อมูลขององค์กร ดังนั้นความพยายามหลักในการจัดการทรัพยากรมีความจำเป็นเพื่อนชดเชยปัญหาที่มีผลมาจากการใช้แนวทางการจัดการฐานข้อมูล คือ การบริหารระบบฐานข้อมูล การวางแผนข้อมูล การบริการข้อมูล
เช่น การลดความซับซ้อนของข้อมูล การรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการเข้าถึงจากหลายโปรแกรมและหลายผู้ใช้



4.อะไรคือบทบาทของระบบสารสนเทศในการจัดการระบบฐานข้อมูล


ตอบ ส่วนประกอบพื้นฐานต่าง ๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกันในการจัดเก็บ จัดการประมวลผล และเผยแพร่แสดงผลข้อมูลสารสนเทศ และสนับสนุนกลไกลของผลสะท้อนกลับ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์


5.ฐานข้อมูลสารสนเทศนั้นเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติการภายในองค์กร ให้พิจารณาว่ายังมีฐานข้อมูลประเภทใดอีกที่มีความสำคัญในธุรกิจปัจจุบัน
ตอบ การใช้ฐานข้อมูลการตลาด การขาย การตั้งยอดขายและเป้าหมายทางธุรกิจอื่นๆ การบริหารสินค้าคงคลัง การบริหารบุคลากร และการบริหารอื่นๆเป็นต้น


6.อะไรคือข้อดีหรือประโยชน์และอะไรคือข้อจำกัดของตัวแบบความสำพันธ์ของฐานข้อมูลที่ประยุกต์ใช้ในทางธุรกิจปัจจุบัน


ตอบ ข้อดี เกิดจากความซับซ้อนขอลเทคโนโลยีที่มีมากขึ้น แนวคิดเชิงการจัดการฐานข้อมูลทำให้เกิดปัญหาจัดการทัรพยากรข้อมูล มีการติดตั้ง DBMS ที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายที่สูง และมีความต้องการฮาร์แวร์มากขึ้น


7.จงอธิบายถึงฐานข้อมูล คลังข้อมูล และตลาดข้อมูลในความเข้าใจของนักศึกษา


ตอบ ฐานข้อมูล ใช้เพื่อการวิเคราะห์ คลังข้อมูล ทำการประมวลผล ตลาดข้อมูล คลังข้อมูลขนาดเล็ก เป็นยุทธวิธีเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจในทันทีทันใด และสามารถปรับปรุงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว


8.ทำไมตัวแบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุ จึงได้รับการยอมรับในการนำเอามาพัฒนาและจัดการฐานข้อมูลทางธุรกิจบนเว็บ
ตอบ สิ่งที่ขับเคลื่อนคือ อินเทอร์เน็ต เพราะสารสนเทศจำนวนมากข้ามไปบนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นสื่อประสม ความต้องการฐานข้อมูลของธุรกิจเพื่อเก็บ รับ และจัดการข้อมูลประเภทอื่นๆทั้งเอกสาร วีดีทัศน์ และเสียง


9.ทำอย่างไรที่จะนำเอาอินเทอร์เน็ต และ World Wide Web มาใช้ในการจัดการทรัพยากรข้อมูลเพื่อประกอบการทำธุรกิจได้
ตอบ การเข้าถึงสารสนเทศที่มีค่าของฐานข้อมูลภายนอกจากพาณิชย์บริการต่อตรงโดยจ่ายค่าธรรมเนียม หรือจากแหล่งต่างๆบนอินทราเน็ต ทั้งที่มีค่าใช้จ่ายหรือไม่มีค่าใช้จ่าย จากเว็บ

แบบฝึกหัดบทที่ 8

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8

1.ถ้าให้นักศึกษาเป็นผู้บริหารในองค์กร จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นประโยชน์ในการแข่งขันด้านการตลาดของตนอย่างไร และมีข้อสังเกตอย่างไรกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ ความเป็นผู้นำ ด้านราคา ลดต้นทุนการจัดซื้อสร้างความแตกต่าง วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นนวัฒกรรม เป็นผู้นำในตลาดความเจริญเติบโต พันธมิตร
คุณค่าด้านกลยุทธ์ในทางธุรกิจประการหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศ ก้คือ บทบาทที่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่สำคัญในขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยให้ขั้นตอนในการปฏิบัติงานภายในมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. กลยุทย์บทบาทของระบบสารสนเทศอะไร ที่จะนำมาช่วยในกระบวนการการปรับรื้อระบบ และการจัดการคุณภาพ
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญในการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ ความรวดเร็วความสามรถในการประมวลผลข้อมูล และการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามรถเพิ่มประสิทฺภาพของขั้นตอนทางธุรกิจได้เป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับการติดต่อสื่อสารและการประสานงานในหมู่ที่รับผิดชอบในการทำงานและการบริหาร

3. จงตกตัวอย่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการใช้กระบวนการปรับรื้อทางธุรกิจ
ตอบ บริษัทรถยนต์ฟอร์ด ได้ปรับเปลี่ยนขั้นตอนของการจัดซื้อ อันเป็นกรณีตัวอย่างของการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจ

4. จงยกตัวอย่างความสำเร็จของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ บริษัท ซิลโก ซิสเต็ม เป็นบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการสื่อสารระยะไกลที่มีชื่อเสียงระดับโลก

5. จงยกตัวอย่างความล้มเหลวของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ 1. แรงหลักดันจากลูกค้า (Customer Driven) การเปิดเสรีทางการค้าในอุตสาหกรรมและบริการหลายประเทศ ทำให้คู่แข่ง สามารถเข้ามาในตลาดเป็นจำนวนมากและลูกค้ามีทางเลือกในการตัดสินใจ เลือกซื้อมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า ธุรกิจต้อง พยายามหาความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยอาศัยการศึกษาและการวิจัยตลาด เพื่อที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ สอดคล้องความ ต้องการของลูกค้า
2. การแข่งขันระดับโลก (Global Competition) การเติบโตที่รวดเร็วและพัฒนาการที่ต่อเนื่องของระบบเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ส่ง ผลให้หลายธุรกิจขยายตัวจนมีขอบเขตข้ามพรมแดนของรัฐ หรือ ที่เรียกว่า "บริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation , MNC)" ทำให้ธุรกิจที่อยู่รอดในอนาคตจะต้องพัฒนาความเข้มแข็งและความสามารถในการปรับตัวให้รวดเร็วและถูกต้อง เพื่อที่จะ แข่งขันบนเวทีโลกได้ อย่างสมบูรณ์
3. การกำหนดขนาดที่เหมาะสม (Rightsizing) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ผู้บริหาร องค์การ ต้องทำการปรับรูปแบบโครงสร้างองค์การให้เหมาะสม โดยการใช้ ทรัพยากรร่วมกัน (Shared Resources) เพื่อลด ความฟุ่มเฟือย ในการ ใช้ทรัพยากรทางธุรกิจและสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. คุณภาพ (Quality) ในปัจจุบันทั้งธุรกิจและผู้บริโภคต่างตื่นตัวต่อแนวความคิดด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการให้บริการ เนื่องจากลูกค้า ไม่เพียงแต่ต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการเท่านั้น แต่เขา ต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับเงิน ที่เสียไป หลายองค์การ ได้ พยายามพัฒนาคุณภาพและบริการของตน โดยนำหลักการจัดการด้านการดำเนินงานสมัยใหม่ (Modern Operations Management) มาประยุกต์ให้ในการสร้างคุณภาพของงาน เช่น การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management , TQM) การผลิตแบบไม่มี ข้อผิดพลาด (Zero Defect) หรือคุณภาพจากแหล่งกำเนิด (Quality at Source) เป็นต้น
5. เทคโนโลยี (Technology) ธุรกิจนำเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน ไม่เพียงเพื่อเพิ่มผลผลิตภาพรวมขององค์การ เช่น การลดค่าใช้จ่ายและ ระยะเวลาในการดำเนินงานให้สั้นลงเท่านั้น แต่เทคโนโลยี ได้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ ซึ่งช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่ธุรกิจ นอกจากนี้การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ของธุรกิจยังช่วย สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภค
6. จงอธิบายประโยชน์ของบริษัทเสมือน
ตอบ -ใช้โครงสร้างพื้นฐาน และความเสี่ยงร้วมกัน
-เชื่อมโยงความสามรถหลักเข้าร่วมกัน
- ลดเวลา โดยการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
-อุปกรณือำนวยความสะดวกและการควบคลุมทางตลาด
-เข้าถึงตลาดใหม่ ๆ และแบ่งตลาดหรือลูกค้าให้กัน
-เปลี่ยนจากการขายสินค้ามาเป็นขายวิธีการแก้ไขปัญหา
7. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเป็นกลยุทธ์ในระหว่างการทำธุรกิจ ซึ่งสามารถประสานงานระหว่างลูกค้า ร้านค้า และอื่น ๆ ได้อย่างไร
ตอบ โดยสร้างเครือข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมที่เชื่อมโยงทุกร้านเข้าด้วยกัน เครือข่ายดังกล่าวถูกออกแบบให้ ผู้จัดการ ผู้จัดซื้อ ผู้ซื้อ และ ฝ่ายขาย ทำงานร่วมกัน ดดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต ในตลาดออนไลน์

ให้นักศึกษาอธิบายภาพต่อไปนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ของธุรกิจ



ตอบ

กลยุทธ์สามารถจาแนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ
2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ
3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่


1. กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ (Corporate Strategy) จะถูกกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ ปกติกลยุทธ์ในระดับ องค์การ จะมีขอบเขตครอบคลุมระยะเวลายาวและทั่วทั้งองค์การ
2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) จะมีขอบเขตที่จำกัดว่ากลยุทธ์ระดับองค์การ โดยกลยุทธ์ระดับธุรกิจจะให้ความ สำคัญ กับการ แข่งขันของธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมกลยุทธ์ระดับนี้มัก ถูกกำหนด โดย "ผู้บริหารหน่วยธุรกิจ (Business Unit Head , BU Head)" เพื่อให้หน่วยธุรกิจ (Business Unit , BU) ของตนสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) จะถูกกำหนดโดยหัวหน้าหน่วยงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การ ดำเนิน การ และทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนและสอดคล้อง กับกลยุทธ์ระดับที่สูงกว่า โดยที่กลยุทธ์ระดับนี้จะมีลักษณะที่เฉพาะ เจาะจง ตาม หน้า ที่ ทาง ธุรกิจ


อ้างอิง : เสกสรร สายสีสด.2548.เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ ธุรกิจ.[Online] Available URL ; http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/117/mis.htm


การวิเคราะห์ MIS และการเลือกกลยุทธ์  MIS : คือการพิจารณาเลือกกลยุทธ์หลาย ๆ กลยุทธ์ จากหลาย ๆ สถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น และตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุด ณ สถานการณ์นั้น ๆ
การปฏิบัติการ  MIS : คือการดำเนินการตามแผนงาน และนโยบายต่าง ๆ ที่ได้วางไว้ ซึ่งแผนงานอาจจะมีการกำหนดไว้ ทั้งแผนระยะสั้น และแผนระยะยาว เพื่อให้บรรลุ กลยุทธ์ที่ได้วางไว้ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกระบบนี้ว่า "ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อผู้บริหารระดับสูง" (Executive Support System: ESS)บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=11-06-2009&group=8&gblog=3
ระบบประมวลผลข้อมูล (DP)เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลขั้นพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายงานประจำวัน (Transaction) และการเก็บรักษาข้อมูลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่น ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด เป็นต้น โดยแต่ละฝ่ายมีการประมวลผลที่แยกจากกัน ข้อมูลจะถูกป้อนและจัดเก็บอยู่ในรูปของไฟล์และไฟล์ต่างๆ จะถูกแก้ไขระหว่างการประมวลผลรายการประจำวัน จากนั้นผลลัพธ์จะถูกแสดงออกมาตามคาบเวลาที่กำหนด เช่น ใบส่งของ หรือ รายงานประจำเดือน
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=11-06-2009&group=8&gblog=5
 นางสาวอัมรินทร์  หงษ์นัย  บ.กจ. 3/2

แบบฝึกหัดบทที่ 7

แบบฝึกหัดบทที่ 7
1.อะไรคือความแตกต่างระหว่างความสามารถของผู้บริหารในการเรียกข้อมูลออกมาใช้ตามความต้องการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และความสามารถจัดการเรื่องบริหารการตัดสินใจโดยใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ   ระบบสรสนเทศเพื่อการจัดการ : การเตรียมการสนับสนุนการตัดสินใจ  มีการเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานภายในองค์กร รูปแบบสารสนเทศและความถี่ ช่วงเวลาการยกเว้นความต้องการ และการดึงรายงานออกมา และการตอบสนอง รูปแบบของสารสนเทศ การกำหนดล่วงหน้าการจำกัดรูปแบบ
ระเบียบวิธีในกระบวนการสารสนเทศ  การสร้างข้อมูลโดยการโอนหรือการย้ายของข้อมูลธุรกิจ
          ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ : การเตรียมการสนับสนุนการตัดสินใจ   มีการเตรียมข้อมูลและเทคนิคการตัดสินใจในการวิเคราะห์ปัญหาเฉพาะหรือโอกาส  รูปแบบสารสนเทศและความถี่ การตรวจสอบการติดต่อระหว่างกันและการตอบสนอง  รูปแบบของสารสนเทศ เฉพาะตามต้องการมีความยืดหยุ่นและรูปแบบที่สามารถปรับใช้ได้ ระเบียบวิธีในกระบวนการสารสนเทศ  การสร้างข้อมูลจากรูปแบบจำลองในการวิเคราะห์ของข้อมูลธุรกิจ

2.ระบบงานการขาย มีความก้าวหน้ากว่าแต่ก่อนมาก เมื่อต้องการข้อมูลสำหรับการทำงานในองค์กร เนื่องจากความต้องการเรื่องกลยุทธ์ เทคนิค และการบริหารการตัดสินใจในธุรกิจเปลี่ยนไปให้นักศึกษาอธิบายเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงนี้
ตอบ การนำเอาระบบสนเทคโนโลยีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจและบริหารงานของผู้บริหารระดับสูง  จะต้องมีการวางกลยุทธ์และเทคนิค ต่างในการบริหารและเป้าหมายที่ชัดเจน

3.มีแนวทางไหนบ้าง ที่นักศึกษาใช้โปรแกรมตารางคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาช่วยในการตัดสินใจ
ตอบ มี 5 แนวทาง
1.ช่วยทำงานได้รวดเร็วได้อย่างรวดเร็ว
2.สามารถเก็บหน่วยความจำได้มาก
3.ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
4.ข้อมูลที่ได้ถูกต้องและแม่นยำ
5.สามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้

4.ทำไมการใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง จึงขยายไปยังระดับกลางและขยายไปทั่วหมดทุกแผนกในองค์กร
ตอบ  ผู้บริหารระดับสูงจะต้องเป็นผู้ทรงความรู้ความสามารถในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับองค์การอย่างละเอียดและกว้างขวางจะต้องเป็นผู้รู้ความเป็นไปของธุรกิจ การดำเนินงาน รวมถึงความสามารถในการตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ยังต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูลอันเป็นผลให้ก่อประโยชน์ต่อองค์การหลีกเลี่ยงการพูดที่ทำให้เกิดความเสียหาย หรือภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อองค์การ

5. ทำไมเครื่องคอมพิวเตอร์จึงสามารถคิดได้ อธิบายเหตุผล
ตอบ คอมพิวเตอร์ ( computer ) มาจากภาษาลาติน หมายถึง เครื่องคำนวณชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถจำข้อมูลและคำสั่งได้ โดยการนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำก่อน หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จะทำการดึงคำสั่งมาเพื่อนำไปปฏิบัติงาน และจะให้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้

6.การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในองค์กร ส่วนไหนสำคัญที่สุด บอกเหตุผลที่นักศึกษาเลือก
ตอบ ศาสตร์แห่งการรับรู้  ในส่วนของปัญญาประดิษฐ์นี้จะตั้งอยู่ในการวิจัยทางด้านชีววิทยา ประสาทวิทยา จิตวิทยา คณิตศาสตร์และการฝึกฝนในหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกัน มุ่งเน้นการวิจัยสมองมนุษย์นั้นมีการทำงานอย่างไรและมนุษย์นั้นมีการคิดและเรียนรู้อย่างไร ผลลัพธ์ที่ได้ของการวิจัยในกระบวนการสร้างสารสนเทศของมนุษย์ เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาในหลายๆ ด้านของการปฏิบัติงานบนคอมพิวเตอร์ในปัญญาประดิษฐ์

7. การผสมผสานระหว่างระบบผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายเส้นประสาท จะก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง นักศึกษาคาดหวังว่าจะเกิดเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างไรบ้าง
ตอบ เทคโนโลยีในด้านต่างเช่น  การสนับสนุนการตัดสินใจ  การนำข้อมูลกลับคืนมา ความจริงเสมือน  และหุ่นยนต์

8.อะไรคือขอบเขตจำกัด หรืออันตรายที่นักศึกษามองเห็น  ในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ความจริงเสมือน และตัวแทนสติปัญญา และอะไรที่จะลดขนาดของผลกระทบเหล่านี้ลงได้
ตอบ สามารถบิดเบือนข้อมูลได้และเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบได้ และอาจมีการเจาะข้อมูลและระบบของบุคคลภายนอกได้ทำให้การตีความหมายผิดพลาดไปจากจริงได้  และการตัดสินใจขึ้นอยู่มนุษย์ที่ทำการป้อนข้อมูลเข้าไปในระบบและอาจจะทำการตัดสินใจผิดได้  การลดขนาดผลกระทบเหล่านี้ คือ การตัดสินใจด้วยตัวเองและใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง การใช้ข้อมูลที่ถูกต้องป้อนเข้าเครื่อง เพื่อใช้วิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจ
นางสาวอัมรินทร์  หงษ์นัย บ.กจ.3/2