วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 2 พื้นฐานของระบบสารสนเทศ

แนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศพื้นฐาน (Fundamental Information System Concept)
              จากแนวคิดเรื่องระบบ (System Concept) มาเป็นรากฐานของระบบสารสนเทศ ที่แสดงให้เห็นถึงการนำระบบไปใช้ในองค์กรธุรกิจ รวมทั้งส่วนประกอบและกิจกรรมของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจแนวคิดอื่นๆ ของเทคโนโลยี โปรแกรมประยุกต์ การพัฒนา และการจัดการระบบสารสนเทศ
การวิเคราะห์ American Management System
               กรณีศึกษาของ American Management System จะช่วยให้ในการเรียนรู้เรื่องประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้ระบบสารสนเทศในธุรกิจ
ศูนย์ความรู้ของ AMS เป็นหนึ่งในหลายๆรูปแบบของระบบสารสนเทศ ซึ่งมีส่วนประกอบพื้นฐานดังนี้
               ทรัพยากรบุคคล ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และเครือข่าย
               สิ่งที่สนับสนุน ข้อมูลเข้า การประมวลผล ข้อมูลออก จัดเก็บและกิจกรรมควบคุม (Control Activities)
              ผลิตภัณฑ์สารสนเทศ (Information Products) ที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้ (End User) กรณีศึกษาจริง
American Management System: ผลประโยชน์ทางธุรกิจของการจัดการองค์ความรู้
                เหมือนพนักงานส่วนมากที่ยังใหม่ต่อบริษัท ดังนั้นเมื่อ แอนดรู เจเวล ผู้จัดการการจัดการโครงแบบในกลุ่มที่ปรึกษาอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภค ต้องศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของหน่วยงาน เขาจึง Log On เข้าสู่ศูนย์ความรู้ของ AMS ซึ่งมีหัวข้อ การให้คำแนะนำการปฏิบัติงานที่ดี’ (The Consulting Firm’s Best Practices) บนอินทราเน็ต
               เจเวล กล่าวว่า ศูนย์ความรู้เป็นจุดติดต่อที่สามารถตรวจสอบทรัพยากรทั้งหมดขององค์กร ถ้าไม่มีศูนย์นี้เขาคงวนอยู่ในกงล้อ
                แนวคิดดังกล่าวเป็นการรวบรวมความรู้ของธุรกิจมาไว้ที่ปลายนิ้วของพนักงาน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นของระบบการจัดการองค์ความรู้ เป้าหมายพื้นฐานคือการนำข้อมูลที่เป็นกุญแจจากแหล่งต่างๆ เช่น กรุ๊ปแวร์ (Groupware) ฐานข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ และความรู้สึกของผู้ใช้ เป็นต้น มาจัดเรียงให้อยู่ในรูปแบบเชิงตรรกะ เพื่อนำเสนอแหล่งความรู้สำหรับผู้ใช้ในองค์กร
                AMS มีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญอยู่มาก จึงสร้างคณะทำงานศูนย์ความรู้เพื่อกระตุ้นให้ที่ปรึกษาเพิ่มในหัวข้อ การให้คำแนะนำการปฏิบัติงานที่ดีอย่างน้อยหนึ่งโครงการต่อปี โดยที่ปรึกษาอาวุโสจะเป็นผู้ตรวจเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งของเอกสารเหล่านั้น และใช้ฐานข้อมูล Lotus Notes ทำดัชนี ให้เข้าถึงด้วยโปรแกรมต่อประสานของ Notes เพื่อค้นหาฐานข้อมูลผ่านแม่ข่ายเว็บ Lotus Domino
แนวคิดเรื่องระบบ (System Concept)
                การประมวลผล (Process) เกี่ยวข้องกับการแปลงข้อมูลนำเข้าให้เป็นข้อมูลออก ตัวอย่างเช่น กระบวนการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม กระบวนการหายใจของมนุษย์ หรือ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
                การส่งออก/ข้อมูลออก/การแสดงผล/ผลลัพธ์ (Output) เกี่ยวข้องกับการโอนข้อมูลส่วนย่อยที่ถูกผลิตโดยการประมวลผลส่งไปยังปลายทาง ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การให้บริการและสารสนเทศการจัดการที่ถูกถ่ายทอดไปยังผู้ใช้ ระบบเป็นกลุ่มข้อมูลส่วนย่อย (Elements) ที่เกี่ยวพันกันหรือทำงานร่วมกันเพื่อประกอบให้เป็นหนึ่งเดียว
               ระบบ (System) คือ กลุ่มของส่วนประกอบที่มีความเกี่ยวพันระหว่างกัน มีการทำงานร่วมกันเพื่อเป้าหมายเดียวกัน โดยการรับข้อมูลเข้าและผลิตข้อมูลออกจากการประมวลผล บางครั้งเรียกว่า ระบบพลวัต (Dynamic System) ประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐาน 3 อย่างคือ
               การนำเข้า/ข้อมูลนำเข้า (Input) เกี่ยวข้องกับการจับและรวบรวมข้อมูลส่วนย่อยที่ถูกป้อนเข้าสู่ระบบเพื่อใช้ในการประมวลผล ตัวอย่างเช่น วัตถุดิบ พลังงาน ข้อมูล ความพยายามของมนุษย์ที่ต้องการความปลอดภัย และการรวบรวมเพื่อประมวลผล เป็นต้น
ผลป้อนกลับและการควบคุม (Feedback and Control)
             ผลป้อนกลับ/ผลสะท้อน/ผลส่งกลับ (Feedb ack) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของระบบ เช่น ข้อมูลการปฏิบัติงานของพนักงานขายเป็นผลป้อนกลับไปยังผู้จัดการฝ่ายขาย เป็นต้น
การควบคุม (Control)
           เป็นการเฝ้าสังเกตและการประเมินผลป้อนกลับว่าระบบได้ดำเนินไปใกล้เป้าหมายหรือไม่ หน้าที่การควบคุมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการปรับปรุงข้อมูลนำเข้าและกระบวนการประมวลผลเพื่อให้ได้ข้อมูลออกที่เหมาะสม เช่น ผู้จัดการฝ่ายขายได้รับสิทธิ์ควบคุมพนักงานขายใหม่ที่อยู่ในเขตการขายของตน เป็นต้น
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ (Components of an Information Systems)
           ทรัพยากรบุคคล รวมทั้งผู้ใช้ และผู้เชี่ยวชาญสารสนเทศ ทรัพยากรฮาร์ดแวร์อันประกอบด้วยเครื่องจักรและสื่อต่างๆ              ทรัพยากรซอฟต์แวร์ซึ่งรวมถึงโปรแกรมและกระบวนคำสั่ง ทรัพยากรข้อมูลอันได้แก่ข้อมูลและฐานความรู้ และ               ทรัพยากรเครือข่ายซึ่งรวมทั้งสื่อการติดต่อสื่อสารและเครือข่าย
            ทรัพยากรข้อมูล ถูกแปลงรูปโดยกิจกรรมการประมวลผลสารสนเทศให้อยู่ในรูปสารสนเทศสำหรับผู้ใช้
                  การประมวลผลสารสนเทศ ประกอบด้วย ข้อมูลเข้า การประมวลผล ข้อมูลออก จัดเก็บข้อมูล และกิจกรรมควบคุม
กรณีศึกษาจริง
American General Insurance : เดินหน้าไปกับระบบเร่งรัดการขายอัตโนมัติ
                ไมเคล เบ็ทส์ รองประธานผ่ายบริการสารสนเทศ (Information Services) ของบริษัท American General Life & Accident Insurance ที่เมืองแนซวิล ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้คิดระบบเร่งรัดการขายอัตโนมัติและสารสนเทศการจัดการการตลาด ซึ่งเขาหวังว่าจะช่วยประหยัดเงินได้เป็นล้านดอลล่าร์ เพื่อสร้างธุรกิจใหม่และเปลี่ยนรูปกระบวนธุรกิจทั้งหมด สำหรับพนักงานขายของบริษัท 7,000 คนและลูกค้าอีกเกือบ 6 ล้านราย
                   เบ็ทส์กล่าวว่า พอแล้วต้องหยุดให้ได้ ไม่เพียงแต่ต้องเลิกระบบทั้งหมด เขายังมองไปถึงอนาคตของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และวางแผนที่จะประหยัดเงินบริษัท ในการที่จะให้พนักงานขายแต่ละรายมีสำนักงานส่วนตัวโดยแท้จริงและเป็นสำนักงานไร้กระดาษ โดยอาศัย 3 สิ่งคือ Fujitsu Stylistic 1000 ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาด Tablet ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ได้พัฒนาให้เหมาะกับงาน และการขยายตัวของอินทราเน็ตบริษัท

ประเภทของระบบสารสนเทศ (Type of Information Systems)
1. ระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ (Operations Support Systems)
      1.1. ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction Processing Systems : TPS)
               หมวดงานหลักของระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ ได้แก่ ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะบันทึกและประมวลผลข้อมูลจากรายการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของรายการซื้อ ขาย และสินค้าคงคลัง โดยจะประมวลผลเพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลลูกค้า สินค้าคงคลัง และอื่นๆให้ทันสมัย ฐานข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นแหล่งทรัพยากรข้อมูลที่สามารถนำมาใช้งานโดยฝ่ายจัดการภายใต้ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจ และระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร
       1.2. ระบบการควบคุมการประมวลผล (Process Control Systems)
                ระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ จะใช้กับการตัดสินใจงานประจำในการควบคุมกระบวนการปฏิบัติการ เช่น การตัดสินใจในเรื่องการบันทึกสินค้าคงคลัง และกระบวนการควบคุมการผลิตอัตโนมัติ ที่เรียกว่า ระบบการควบคุมการประมวลผล ที่จะตัดสินใจอัตโนมัติโดยคอมพิวเตอร์ เช่น โรงกลั่นน้ำมันดิบใช้เครื่องรับรู้อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Sensors) เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อเฝ้าสังเกตกระบวนการทางเคมี ที่ตรวจจับและประมวลผลโดยเครื่องรับรู้และทำการปรับกระบวนการกลั่นน้ำมันทันที
         1.3. ระบบความร่วมมือองค์กร ( Enterprise Collaboration Systems)
                 ระบบความร่วมมือองค์กร เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งปันทรัพยากร และการประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกันทั้งแบบเป็นทางการและแบบไม่เป็นทางการของทีมโครงการและกลุ่มงาน ซึ่งเป้าหมายคือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมการสร้างผลผลิตและการคิดสร้างสรรค์ให้แก่คณะทำงานและกลุ่มงานในองค์กรธุรกิจสมัยใหม่
2. ระบบสนับสนุนการจัดการ (Management Support Systems : MSS)
           ระบบสารสนเทศ ที่เน้นการจัดเตรียมสารสนเทศและสนับสนุนการตัดสินใจที่เกิดประโยชน์แก่ผู้จัดการ เรียกว่าระบบสนับสนุนการจัดการ ที่เกิดจากแนวคิดของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เมื่อปี 1960 ที่รวมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และทฤษฏีระบบของการประมวลผลข้อมูลองค์กรเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 ประการคือ
เน้นในเชิงการจัดการ (Management Orientation) เทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจ เป้าหมายหลักคือระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจของฝ่ายจัดการ (Management Decision Making) ไม่ใช่ทำเฉพาะการประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการดำเนินงานของธุรกิจเท่านั้น
เน้นกรอบของระบบ (Systems Framework) สำหรับการจัดระเบียบโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศ โดยมีทรรศนะว่าโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน แบบประสานและบูรณาการ ไม่ใช่เป็นงานการประมวลผลข้อมูลแบบอิสระ
                 2.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS)                  2.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS)
                2.3 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information Systems : EIS)
3. การจำแนกระบบสารสนเทศอื่นๆ (Other Classifications of Information Systems)
          ยังมีระบบสารสนเทศอื่นที่สามารถสนับสนุนทั้งโปรแกรมประยุกต์เชิงปฏิบัติการและเชิงจัดการ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบการจัดการองค์ความรู้ ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ และระบบสารสนเทศธุรกิจ
         3.1 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
         3.2 ระบบการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management Systems)
         3.3 ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (Strategic Information Systems)
         3.4 ระบบสารสนเทศเชิงธุรกิจ (Business Information Systems)
         3.5 ระบบสารสนเทศแบบบูรณาการ (Intergrated Information Systems)
http://sites.google.com/site/it514249124/thekhnoloyi-phun-than-khxng-rabb-sarsnthes

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น