วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ให้นักศึกษาอธิบายภาพต่อไปนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ของธุรกิจ



ตอบ

กลยุทธ์สามารถจาแนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ
2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ
3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่


1. กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ (Corporate Strategy) จะถูกกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ ปกติกลยุทธ์ในระดับ องค์การ จะมีขอบเขตครอบคลุมระยะเวลายาวและทั่วทั้งองค์การ
2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) จะมีขอบเขตที่จำกัดว่ากลยุทธ์ระดับองค์การ โดยกลยุทธ์ระดับธุรกิจจะให้ความ สำคัญ กับการ แข่งขันของธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมกลยุทธ์ระดับนี้มัก ถูกกำหนด โดย "ผู้บริหารหน่วยธุรกิจ (Business Unit Head , BU Head)" เพื่อให้หน่วยธุรกิจ (Business Unit , BU) ของตนสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) จะถูกกำหนดโดยหัวหน้าหน่วยงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การ ดำเนิน การ และทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนและสอดคล้อง กับกลยุทธ์ระดับที่สูงกว่า โดยที่กลยุทธ์ระดับนี้จะมีลักษณะที่เฉพาะ เจาะจง ตาม หน้า ที่ ทาง ธุรกิจ


อ้างอิง : เสกสรร สายสีสด.2548.เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ ธุรกิจ.[Online] Available URL ; http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/117/mis.htm


การวิเคราะห์ MIS และการเลือกกลยุทธ์  MIS : คือการพิจารณาเลือกกลยุทธ์หลาย ๆ กลยุทธ์ จากหลาย ๆ สถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น และตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุด ณ สถานการณ์นั้น ๆ
การปฏิบัติการ  MIS : คือการดำเนินการตามแผนงาน และนโยบายต่าง ๆ ที่ได้วางไว้ ซึ่งแผนงานอาจจะมีการกำหนดไว้ ทั้งแผนระยะสั้น และแผนระยะยาว เพื่อให้บรรลุ กลยุทธ์ที่ได้วางไว้ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกระบบนี้ว่า "ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อผู้บริหารระดับสูง" (Executive Support System: ESS)บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=11-06-2009&group=8&gblog=3
ระบบประมวลผลข้อมูล (DP)เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลขั้นพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายงานประจำวัน (Transaction) และการเก็บรักษาข้อมูลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่น ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด เป็นต้น โดยแต่ละฝ่ายมีการประมวลผลที่แยกจากกัน ข้อมูลจะถูกป้อนและจัดเก็บอยู่ในรูปของไฟล์และไฟล์ต่างๆ จะถูกแก้ไขระหว่างการประมวลผลรายการประจำวัน จากนั้นผลลัพธ์จะถูกแสดงออกมาตามคาบเวลาที่กำหนด เช่น ใบส่งของ หรือ รายงานประจำเดือน
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=11-06-2009&group=8&gblog=5
 นางสาวอัมรินทร์  หงษ์นัย  บ.กจ. 3/2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น