วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้

1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร
ตอบ  1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา
                1.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI
                1.
2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการแระชุมทางไกล (Video Teleconference)

                1.3.เครือข่ายการศึกษา (
Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก
                1.4.การใช้งานในห้องสมุด (
Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย
                1.5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (
Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด



2. สารสนเทศสนับสนุนงานขององค์กรอย่างไร บ้าง จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ
ตอบ ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้


1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ
ที่มา: http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson9-1.asp


3. เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างไรบ้าง
ตอบ ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูงและต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน อันจะทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ ผู้บริหารจำเป็นมีการจัดการที่ดีกับทรัพยากรทางการจัดการ อันประกอบด้วย บุคลากร(Man) เครื่องจักร(Machine) วัตถุดิบ(Material) เงิน(Money) การจัดการ(Management)  และตลาด(Market) หรือ 6 M’s นั่นเอง โดยมีบุคลากรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้องค์กรเจริญเติบโตไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
ข้อได้เปรียบหรือจุดแข็ง (Strength) เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรพยายามสร้างขึ้นมาแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งง่าย ที่กิจการสามารถสร้างขึ้นมาได้ เช่น บริษัท NOKIA  ได้มีการพัฒนาโทรศัพท์มือถือ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในระบบดิจิตอลมากกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งในอดีตผู้นำคือบริษัท โมโตโรล่า ที่ยังเน้นเทคโนโลยีระบบอนาลอก บริษัทต้องเสียเวลามาปรับกลยุทธ์กับสินค้าใหม่แต่ก็ช้าเกินไป ทำให้ NOKIA สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) และก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำแทน ทั้ง ๆ ที่ในอดีต NOKIA เป็นบริษัทเล็ก ๆ ของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งมีประชากรแค่ 5.3 ล้านคน จึงมีการตั้งคำถามว่า ทำไมประเทศเล็ก ๆ นี้จึงสามารถเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภายในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 20 ปีที่ผ่านมา ได้อย่างไร?
NOKIA เป็นตัวอย่างที่องค์กรต่าง ๆ พยายามศึกษาถึงกลยุทธ์ความสำเร็จ แต่การที่จะเป็นผู้นำได้นั้น ไม่สามารถสร้างในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ได้ จากการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่เป็นหัวใจหลักของการประสบความสำเร็จก็คือ รัฐบาลฟินแลนด์มีนโยบายให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างจริงจัง ด้วยการพยายามส่งเสริมภาคเอกชนมีการทำวิจัยและพัฒนาพร้อมไปกับผลงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ (Knowledge) ของภาคเอกชนให้สามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) ได้ ทำให้ประเทศฟินแลนด์สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับสินค้าอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามประเทศอื่น ๆ ก็สามารถที่จะทำให้มีความได้เปรียบเช่นเดียวกับประเทศฟินแลนด์เช่นกัน ดังภาพที่ 1 ซึ่งแสดงลำดับขั้นของการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ
4. .ให้นักศึกษาอธิบายหัวข้อต่อไปนี้
  • ระบบสารสนเทศด้านการจัดการโซ่อุปทาน
          ตอบ ระบบจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือ เอสซีเอ็ม  (Supply Chain Management -- SCM) คือ การจัดการ
การบริหารห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นระบบสารสนเทศที่รองรับระบบจัดการห่วงโซ่อุปทาน ต้องการประสานและเชื่อมต่อข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ เพื่อจัดซื้อวัตถุดิบสำหรับสร้างสินค้าและบริการ การนำส่งลูกค้า การจัดการคลังสินค้า และบริการหลังการขาย เป็นกระบวนการต่อเนื่อง ระบบที่มีประสิทธิภาพจะสามารถลดค่าใช้จ่ายการทำงานแต่ละขั้นตอน ตามแนวคิดของห่วงโซ่คุณค่า (value chain)
  • ระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
          ตอบ ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ หรือ ซีอาร์เอ็ม  (Customer Relationship Management -- CRM)  การจัดการ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ คือ การจัดการกิจกรรมที่เกี่ยวกับลูกค้าในปัจจุบัน และลูกค้าที่คาดว่าจะมีในอนาคต เป็นการประสากระบวนการขาย การตลาดและการให้บริการทั้งหมด ดังนั้นระบบสารสนเทศที่รองรับระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลในงานต่าง   วิเคราะห์ ประเมินคุณค่าของลูกค้า ค้นหากลุ่มลูกค้า ความต้องการในสินค้าและบริการ เพื่อนำปรับปรุงให้สอดคล้องต่อไป
  • ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร
          ตอบ
  • ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
          ตอบ การจัดการความรู้   (knowledge management) การจัดการความรู้ในองค์การกลายเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ เพราะความสำเร็จขององค์การขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์การ ในการรวบรวมความรู้ สร้างความรู้ใหม่ จัดเก็บ ค้น และนำความรู้ไปใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ให้เกิดบริการสินค้า หรือกระบวนการทำงานใหม่ขึ้น ความรู้ในองค์การได้แก่ ความรู้ที่มีการเขียนอย่างเป็นทางการ (explicit knowledge)   ความรู้ที่ชัดแจ้ง) เช่น คู่มือการผลิต รายงานวิจัย  และความรู้แบบที่สอง เป็นความรู้โดยนัย  (tacit knowledge)  เกี่ยวกับทักษะประสบการณ์ แต่ไม่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเช่น  ความรู้ด้านระบบการผลิตสินค้า  ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบที่ซับซ้อนขององค์การหรือหน่วยงานภายนอก ซึ่งทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างถูกต้องและคล่องตัว  ความรู้เหล่านี้กระจัดกระจายทั้งในตัวบุคคล เอกสาร รายงานการวิจัย ฐานข้อมูลการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ
                 ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการความรู้ หรือ เคเอ็มเอส (Knowledge Management System -- KMS) มีเครื่อง  มือสนับสนุนในการสร้างและจัดการความรู้หลายประเภท โดยประยุกต์เครื่องมือต่าง ๆ ให้สามารถจัดการความรู้ที่มีหลายรูปแบบและกระจัดกระจายในที่ต่าง ๆ ได้ 
  • ระบบสารสนเทศด้านอัจริยะทางธุรกิจ 
         ตอบ จากความจำเป็นในการแข่งขันด้านธุรกิจ ส่งผลให้ระบบสารสนเทศต้องมีการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองความต้องการในเชิงธุรกิจ ที่จริงแล้วคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ระบบสารสนเทศเป็นอาวุธสำคัญชิ้นหนึ่ง ที่มีผลโดยตรงต่อธุรกิจเลยทีเดียว บริษัทหลายแห่งยอมลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมากกับระบบเพื่อมุ่งหวังผลการเจริญเติบโตทางธุรกิจ และในเวลาเดียวกันก็มุ่งหวัง การช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ มาชดเชยด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นทั้งระบบจะต้องตอบสนอง และเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้รับมือกับความเปลี่ยนไปได้อย่างทันท่วงที ซึ่งถ้าจะมองไปแล้วระบบเครือข่าย ก็เป็นตัวจักรสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่ต้องทำงานประสานกับแอพพลิเคชั่น และผู้ใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ถือเป็นองค์ประกอบที่บริษัทไม่สามารถปล่อย ให้เกิดการหยุดทำงานได้อีกต่อไป ลองสังเกตดูง่ายๆ ในสมัยก่อนถ้าเกิดเหตุการณ์ไฟดับขึ้นมา พนักงานทุกคนก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ เราจึงต้องมีระบบสำรองไฟขึ้นมาใช้ เช่นเดียวกันกับสมัยนี้ ถ้าระบบเครือข่ายเสียขึ้นมาต่อให้เซิร์ฟเวอร์ และแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้ไม่มีปัญหาอะไร พนักงานก็แทบจะทำอะไรไม่ได้เลย
ที่มา:http://www.ngoscyber.mirror.or.th/autopagev4/show_page.php?topic_id=707&auto_id=11&TopicPk=
นางสาวอัมรินทร์ หงษ์นัย  บ. กจ. 3/2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น