วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา ยาสีฟันเดนทิสเต้

กรณีศึกษา ยาสีฟันเดนทิสเต้กับความสำเร็จใ​นการใช้กลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ​ยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม
            ยาสีฟันเดนทิสเต้ เป็นยาสีฟันยี่ห้อแรกที่ได้เข้า​มาเซกเมนต์ Night Time หรือการใช้ยาสีฟันในช่วงเวลาก่อ​นนอน โดยมีจุดมุ่งขายในเรื่องการลดแบ​คทีเรียในช่องปากระหว่างการนอนห​ลับ
             หากว่ากันแล้ว เดนทิสเต้ได้พยายามผลักตัวเองเพื่อหลีกหนีสมรถภูมิการแข่งขันที่​รุนแรงในตลาดยาสีฟันระดับกลุ่มใ​หญ่ ที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงจากแ​บรนด์ยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่ราย ที่ได้ใช้งบทางการตลาด ในการประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์อ​ย่างไม่อั้นด้วยเม็ดเงินจำนวนมห​าศาล
             ปกติแล้วการทำตลาดยาสีฟัน ต่างก็มีจุดขายเดิมๆที่เหมือนกั​น และมักตอบโจทย์ในเรื่องของสุขภา​พในช่องปากเป็นหลัก รวมถึงการระงับกลิ่นปาก แต่สิ่งที่เดนทิสเต้นำมาสร้างเป็นจุดขายถือว่าเป็นเรื่องใหม่เพ​ราะที่ผ่านมาไม่มีแบรนด์ใด ที่ใช้จุดขายในเรื่องการระงับกลิ่นปากจากการช่วยลดแบคทีเรียที่​เกิดขึ้นในช่วงเวลานอนหลับ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เดนทิสเต้ได้หยิบเอากลยุทธ์เจาะ​ตลาดเฉพาะกลุ่มด้วยการ สร้างตลาดเฉพาะกลุ่ม(Niche)ขึ้น​มาซ้อนอยู่ในตลาดกลุ่มใหญ่(Mass​) พร้อมกับมุ่งเป้าหมายไปยังคู่รั​กที่เพิ่งแต่งงานกัน ที่มองถึงปัญหากลิ่นปากจากแบคที​เรียที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาตื่นน​อนตอนเช้าซึ่งจัดเป็นปัญหาที่ยั​งไม่มีใครเข้ามาตอบสนองความต้อง​การในเรื่องดังกล่าวได้
            สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากยาสีฟันเดนทิสเต้ได้เข้ามาทำตลาดก็คือ ได้ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาสีฟันหลอดเดียวเดียวที่ใช้กันทั้งครอบครัว มาสู่การใช้ยาสีฟันหลอดที่ 2 ที่คนในครอบครัวได้แยกออกมาใช้เวลาไม่ถึง​ 3 ปี ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นยาสีฟันที่ได้รับความสำเร็จอย่างรวดเร็วเกินคาด โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เดนทิสเต้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี  ส่วนหนึ่งก็มาจากจาก การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Positioning)ที่ตรงจุด ด้วยการนำปัญหาที่ผู้บริโภคมีคว​ามกังวลมากที่สุดมาเป็นจุดขาย (กลิ่นปากที่เกิดขึ้นในช่วงตื่น​นอนตอนเช้า)
            ผลจากการสร้างจุดขายที่มีลักษณะ​เด่นและแตกต่างนี้เอง ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความต้องกา​รของผู้บริโภคเป็นหัวใจสำคัญ จึงทำให้เดนทิสเต้สามารถนำพาแบร​นด์ตัวเอง ด้วยการหลีกเลี่ยงเผชิญหน้าในสม​รภูมิการแข่งขันจากเจ้าตลาดที่ไ​ด้ทุ่มเทงบโฆษณาอย่างมหาศาล และเก็บเกี่ยวยอดขายเพื่อสร้างค​วามมั่นคงให้กับแบรนด์ของตน เพื่อพร้อมรับมือกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นต่อไปในอนาคคต


คำถามจากกรณีศึกษา ยาสีฟันเดนทิสเต้

1. ทำไมยาสีฟันเดนทิสเต้ จึงหนีการเผชิญหน้าเพื่อแข่งขันโดยตรงกับยาสีฟันยักษ์ใหญ่
     ตอบ เพราะว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ มีการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ทีมีงบไม่อั้น จึงทำให้เดนทิสเต้ไม่อยากที่จะแข่งขันด้วย
2. เดนทิสเต้ได้นำกลยุทธ์อะไรเป็นตับขับเคลื่อน และทำไมจึงใช้กลยุทธ์ดังกล่าว
     ตอบ กลยุทธ์ที่ใช้ คือ กลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม พร้อมมุ่งเป้าไปที่คู่เพิ่งแต่งงานกัน เหตุที่ใช้เพราะว่า เดนทิสเต้ต้องการสร้างความแตกต่างจากยาสีฟันยี่ห้ออื่น รวมทั้งใช้เป็นจุดขายของเดนทิสเต้อีกด้วย
3. ปัจจัยสำคัญอะไร ที่ยาสีฟันเดนทิสเต้ สามารถเข้ามามีส่วนแบ่งตลาดได้ในระยะเวลาอันสั้น
     ตอบ  มีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน เพราะโดยส่วนใหญ่ยาสีฟันทั่วไป จะดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นหลัก และช่วยระงับกลิ่นปาก แต่เดนทิสเต้ มีจุดขายในเรื่องการระงับกลิ่นปากจากการช่วลลดแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลับนอน อีกทั้งยังสามารถตอบโจทย์ที่ผู้บริโภคต้องการได้ คือ การมีลักษณะเด่นและความแตกต่าง
4. สมมติว่าท่านได้ีรับภาระหน้าที่ในการเจาะตลาดยาสีฟันยี่ห้อหนึ่ง ท่านจะใช้กลยุทธ์ใด และจะกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้ลักษณะเด่นอะไรที่คิดว่ายังพอมีศักยภาพในการทำกำไร รวมทั้งสร้างความพึงพอใจกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
     ตอบ กลยุทธ์การให้ข่าวสาร( Public Relation Strategy) เช่น การร่วมมือกับสื่อบางสื่อ เพื่อจัดเทศกาลในโอกาสพิเศษ
      - กลยุทธ์ การใช้พนักงานขาย (Personal  Strategy) เช่น คิดค้นโปรแกรมการให้ผลตอบแทนการขาย ( Incentive Program ) ใหม่ๆ เพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงานขายที่ทำยอดขายตามเป้า
     - มีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ โดยใช้เกณฑ์คุณภาพสูง ราคาสูง เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่า ยี่ห้อยาสีฟันชนิดนี้มีคุณประโยชน์และคุณค่าในสายตาผู้บริโภค

นางสาวอัมรินทร์  หงษ์นัย  บ.กจ 3/2

กรณีศึกษา : บริษัท Nokia

Nokia  connecting  people 
กรณีศึกษา : บริษัท Nokia ขยายตลาดด้วยการทำคอมพิวเตอร์แล็บทอป            บริษัท Nokia ถือเป็นเจ้าตลาดโทรศัพท์มือถือ (Moble Phone) มายาวนา และล่าสุดข่าวลือของโนเกียที่สะ​พัดออกมาก็คือ การเข้าสู่ธุรกิจเครื่องคอมพิวเ​ตอร์แบบแล็ปท...อปหรือโน้ตบุ๊คโดย Kallasvuo ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่ง CEO ของโนเกียได้มองว่า โทรศัพท์มือถือได้เปิดโอกาสให้ผู้คนเริ่มเข้าถึงเทอร์เน็ตแล​ะนี่จึงเป็นโอกาสที่ดีในการต่อย​อดไปยังธุรกิจคอมพิวเตอร์ ภายใต้แบรนด์ของตนเอง
                ข่าวดังกล่าว ได้เผยแพร่ออกมาภายหลังจากบริษั​ท  Acer  ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อันดับ 3 ได้มีการเปิดตัวโทรศัพท์มือถือ ซึ่งถือเป็นการก้าวข้ามมาในอุตส​าหกรรมที่โนเกียเป็นเจ้าตลาดอยู​นั้นเอง ดังนั้นการที่โนเกียจะขยายตลาดด้วยการกระโดดจากธุรกิจหนึ่งไปสู่อีกธุรกิจหนึ่งนั้น  จึงมิใช่เรื่องแปลก เพราะเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การขยาย​กิจการในยามที่ธุรกิจดั้งเดิมขอ​งตนเริ่มอิ่มตัว  ในเมื่อขยายไม่ออก ก็จำเป้นต้องกระโจนเข้าสู่ธุรกิ​จใหม่  ที่มีช่องว่างเพียงพอต่อการทำตล​าดได้ ทำนองเดียวกันกับบริษัท Apple ที่กระโดดจากธุรกิจคอมพิวเตอร์เ​ข้าสู่ธุรกิจเครื่องเล่น  MP3 และก้าวเข้าสู่โทรศัพท์  iPhone ที่โด่งดังไปทั่วโลก และต่อไปนี้เป็นบริษัทชั้นนำที่​อยู่ในตลาด วึ่งเป็นผู้ผลิตทั้งคอมพิวเตอร์​รวมถึงโทรศัพท์มือถือ
Apple ที่ทำตลาดคอมพิวเตอร์ในนามของ Macintosh รวมถึงโทรศัพท์มือถืออย่าง iPhone ซึ่งสินค้าของ Apple มีความโดดเด่นในเรื่องนวัตกรรมแ​ละการออกแบบสวยงามเหนือชั้นกว่า​คู่แข่งขัน  อีกทั้งยังไปที่ชื่นชอบของลูกค้​าเป็นอยากมาก
HP เจ้าตลาดอันดับ 1 ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ทั้งแบพีซี​และโน้ตบุ๊ค DEll เจ้าตลาดอันดับ 2 ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ทั้งแบบพีซีแ​ละโน้ตบุ๊ค รวมถึงการับประกอบเครื่องคอมพิว​เตอร์ตามสเปกที่ลูกค้าต้องการ และกำลังคิดจะรุกเข้าตลาดโทรศัพ​ท์มือถืออยู่เช่นกัน Acer เป็นเจ้าตลาดอันดับ 3 ของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์กำลังกระโ​ดดข้ามมาทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือ​ Sony ผู้ผลิตโน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ในชื่อ Vaio รวมถึงโทรศัพท์ในชื่อของ Sony Ericsson         ความสำคัญอยู่ที่หาก Nokia ตัดสินใจขยายไปสู่ธุรกิจที่เต็ม​ไปด้วยสมรภูมิการแข่งขัน จากผู้ค้ารายเดิมที่มีความแข็งแ​กร่งตามรายะเอียดข่างต้น ดังนั้น  Nokia จะสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ไ​ด้หรือไม่  จนสามารถมีที่ยืนอย่าง Phone ของบริษัท Apple ที่เดิมทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิว​เตอร์และกระโดดข้ามเข้ามาทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือจนสำเร็จ



คำถามจากกรณีศึกษา บริษัท Nokia
1. ท่านคิดว่า บริษัท Nokia ตัดสินใจกระโดดข้ามมาทำธุรกิจคอ​มพิวเตอร์แล็ปทอป เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องหรือไ​ม่ อย่างไร จงให้เหตุผลประกอบ
     ตอบ ไม่ถูกต้อ​ง เนื่องจาก ความน่าเชื่อถือของโนเกียในด้าน​ของแล็ปทอปยังมีน้อยในด้านนี้ อีกทั้งบริษัทคู่แข่งขันนั้นมีค​วามเชี่ยวชาญมากกว่าในสายตาของผู้บริโภค เป็นผลให้การทำการตลาดเพื่อแบ่งส่วนตลาดเป็นไปได้ยาก


2. "โนเกียควรปกป้องตลาดมือถือของต​นเองต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องลงมาทำตลาดคอมพิวเตอร์ให้เสียเวลา ซึ่งยังมีช่องว่างอยู่มากมายอย่​างตลาดของ Smart-Phone ที่โนเกียสามารถรุกเข้าไปทำตลาด​อย่างจริงจัง" อยากทราบว่า Smart-Phone คืออะไร และท่านเห็นดัวยกับกลยุทธ์ตามดั​งกล่าวข้างต้นหรือไม่ อย่างไร
      ตอบ Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความ​สามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป ทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้​น เช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้น เรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดียว
        เห็นด้วย เนื่องจากถ้าพิจารณาจากตลาดมือถือยังถือว่ากว้างมาก  นอกจากนั้นโนเกียยังเป็นยี่ห้อ
มือถือที่ลกค้าให้ความเชื่อมั้น ควรตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้​าให้มากจะเป็นการดีที่สุด


3. บริษัท Apple ซึ่งเดิมเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์​ในนามของ Macintosh ที่ได้ขยายธุรกิจข้ามมายังอุตสา​หกรรมโทรศัพท์มือถือในนามของ iPhone และยังสามารถยืนหหยัดทำสำเร็จจน​เป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ท่านคิดว่าบริษัท Apple ได้ชูกลยุทธ์ใดในการเข้าถึงกลุม​ลูกค้า
ตอบ Apple ได้ชูกลยุทธ์ด้านการออกแบบสินค้​า โดยออกแบบให้เป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่​น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคนรุ่นใหม่ที่ชอบเทคโนโลยี  ทั้งนี้ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดระดับบนที่มีรายได้สูง


นางสาวอัมรินทร์  หงษ์นัย  บ.กจ 3/2

คลื่นยุคที่1-4

คลื่นยุคที่1-4

คลื่นลูกที่ 1 : ยุคเกษตรกรรม : Agricultural :อยู่ดีมีสุขเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
คลื่นลูกที่ 2 : ยุคอุตสาหกรรม : Industrial :แก่งแย่งชิงดี อิจฉา เอาตัวรอด
คลื่นลูกที่ 3 : ยุคข้อมูลข่าวสาร : Information Technology :ยึดติดถือดี ถ้าใช้ในทางที่ดีสร้างสรรค์ (วิวัฒน์) ถ้าใช้ในทางที่ไม่ดีทำลาย (วิบัติ)
คลื่นลูกที่ 4: ยุคเครือข่ายมวลชน : Human Network :ใครสามารถสร้างพลังมวลชนได้มากคนนั้นชนะ

คลื่นลูกที่ 1.ยุคเกษตรกรรม
อาชีพที่ดีที่สุดก็คงหนีไม่พ้นรับราชการ ดังที่เคยมีคำกล่าวว่า "สิบพ่อค้าไม่เท่าหนึ่งพยาเลี้ยง"
คลื่นลูกที่ 2.ยุคอุตสาหกรรม
- เริ่มจากการที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องจักร เครื่องกลต่างๆขึ้นมาได้
- อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆก็ถูกผลิตตามมา
- ยุคนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆเกิดขึ้นมากมาย
การเปลี่ยนแปลงทำให้อาชีพเก่าได้รับผลกระทบ
อาชีพเกษตรกร คนก็เปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นมากขึ้น
อาชีพช่าง ดีขึ้น
อาชีพแพทย์ ดีขึ้น
อาชีพราชการ ถูกลดความสำคัญลง
เศรษฐีที่เกิดขึ้นในยุคอุตสาหกรรม
คุณ ธนินทร์ เจียรวนนท์ เจ้าพ่อ CP ทำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมจนร่ำรวย
คุณ เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อเบียร์ช้าง ทำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมจนร่ำรวยเหมือนกัน
ข้อสังเกตุ คนที่ประสบความสำเร็จ คือคนที่รู้จักเลือกอาชีพได้สอดคล้องกับยุคสมัยนั้นๆ

คลื่นลูกที่ 3. ยุคสารสนเทศหรือข้อมูลข่าวสาร
- ยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน
- ผู้คนทั่วโลกสามารถรับรู้เหตุการณ์ต่างๆได้พร้อมกัน
- เศรษฐกิจกระทบถึงกันหมดทั่วโลก
- อุปกรณ์สื่อสารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
- ยุคนี้คอมพิวเตอร์มีผลต่อการทำงานอย่างมาก
- งานไหนที่คอมพิวเตอร์ทำแทนคนได้ งานนั้นคนต้อง .....
- งานที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำแทนคนได้ คือ งานฝีมือ , งานที่ต้องใช้ EQ ทำธุรกิจเอมสตาร์ ใช่ไหม ใช่แน่ๆเพราะเป็นงานที่ต้องใช้ EQ สูงมาก (แสดงว่างานนี้สอดคล้องกับยุคที่ 3)
เศรษฐีที่เกิดขึ้นในยุคนี้
บิลล์ เกตส์ เป็นมหาเศรษฐีจากการทำธุรกิจซอร์ฟแวร์
เศรษฐีของเมืองไทยที่เกิดขึ้นในยุคนี้ ก็มาจากการทำธุรกิจสื่อสาร (คงไม่ต้องบอกว่าใคร)

คลื่นลูกที่ 4. ยุคเครือข่าย
- การแข่งขันเชิงธุรกิจจะรุนแรงจนแข่งกันเจ๊ง
- ธุรกิจขนาดเล็กที่มีอำนาจต่อรองน้อย จะถูกบีบจากธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมมากกว่า วิธีปรับตัวเพื่อความอยู่รอดคือ สร้างพันธมิตร (รวมตัวกันเป็น เครือข่าย )
- เจ้าของกิจการที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกันก็ต้องรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สภาวะน้ำมันแพง จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ต้องลดจำนวนพนักงานลงเรื่อยๆ
- คนที่อยู่ได้จะต้องเก่งจริงและต้องทำงานหนัก

- ในอนาคตรูปแบบการจ้างงานมีแนวโน้ม ที่จะจ้างเป็นพนักงานชั่วคราว , ฟรีแลนซ์
- คนที่ทำงานกินเงินเดือนจะยิ่งรู้สึกถึง ความไม่มั่นคงของชีวิต (เพราะต้องทำงานหนักเกินค่าตอบแทน , ค่าครองชีพสูงจนเงินเดือนไม่
พอใช้ )
- คนที่ทำงานกินเงินเดือนจะถูกบีบให้ออกมาทำกิจการส่วนตัวโดยปริยาย แต่กิจการส่วนตัวที่จะอยู่รอดได้ต้องใหญ่และต้องครบวงจร( ซึ่งคนส่วนใหญ่ทำไม่ได้ )
ดังนั้นงานที่จะสอดคล้องกับสภาพของยุคที่ 4 ก็คืองานประเภท
1. คนที่ มีความพร้อม เป็นผู้ ลงทุน (คนรวยอยู่แล้ว)
2. คนที่ ไม่อยากลงทุน เป็นผู้ ลงแรง ก็คือธุรกิจเครือข่าย (MLM)นั่นเอง
ดังบทความจาก Wall Street Journal นิตยสารที่ทรงอิทธิพลที่สุดในอเมริกา ได้ทำนายไว้ว่า"ในอนาคต 75 % ของสินค้าและบริการทั้งหมดของโลกจะถูกขายผ่านกลไกของระบบ Network Marketing( การตลาดแบบเครือข่าย )"
J. Paul Getty ได้เขียนไว้ในหนังสือ How To Get Rich ว่า... กฎข้อแรกของความสำเร็จคือ
คุณต้องทำธุรกิจเพื่อตัวเอง เพราะคุณจะไม่มีทางร่ำรวย จากการทำงานให้กับคนอื่น

เพราะฉะนั้นวันนี้ถ้าเรายังไม่ได้สร้างเครือข่ายอะไรไว้เลยรีบๆนะครับเดี๋ยวจะตกยุค และถ้าวันนี้เราเองทำธุรกิจเครือข่ายอยู่มั่นใจเลยครับว่าเรามาถูกทางแล้ว รีบๆทำให้สำเร็จครับ จะได้เป็นเศรษฐีกันถ้วนหน้า


http://a2cds.blogspot.com/2011/02/4.html

นางสาวอัมรินทร์  หงษ์นัย  บ.กจ. 3/2
     

บทที่ 4 ภาพรวมของการจัดการ : การจัดการฐานข้อมูล

กรณีศึกษาจริง
Sears, MCI และ First American: คลังข้อมูลกับสารสนเทศภายนอก

สำหรับคลังข้อมูลของหลายๆ บริษัทแล้วยากที่จะกล่าวกับผู้ใช้ว่าอะไรที่อยู่ภายในขอบเขตของเขา เช่น รายการเปลี่ยนแปลงภายใน (Internal Transactions) ประวัติการขาย (Sale Histories) หรือระเบียนลูกค้า (Customer Records) จำนวนมหาศาล ผู้จัดการหลายๆบริษัทกล่าวว่าบริษัทของเขาเชื่อมั่นอย่างมากในสารสนเทศภายนอก เช่น ประชากรศาสตร์ (Demographics) และการพยากรณ์ทางเศรษฐกิจ (Economic Forecasts)
Steve Beitler ผู้ช่วยผู้ตรวจการของ Sear, Roebuck & Company ในเมือง Hoffman Estates รัฐ Illinois ตอบคำถามเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลการเงินของตลาดการค้าปลีกจากแหล่งภายนอก ว่า ข้อมูลภายนอกเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเรา
Beitler กล่าวว่าระดับเฉลี่ยของรายได้และการบริโภคของประชากรสามารถนำมาใช้เพื่อพิจารณาเลือกสถานที่ตั้งร้านใหม่ ขณะที่ข้อมูลการตลาดทำให้บริษัทสามารถวัดผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจและคู่แข่งได้
ผู้จัดการคลังสินค้าอื่นๆ เห็นด้วยว่าข้อมูลภายนอกเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อนำมาใช้ในด้านการขายและการตลาด แต่เขากล่าวว่าสารสนเทศภายนอกไม่ได้มาด้วยราคาถูกๆ และต้องมีการตรวจสอบเพื่อให้เข้ากันได้ (Compatibility) กับข้อมูลภายใน
MCI Communication Corporation ใช้รายชื่อของลูกค้าจากบริษัทเครื่องบินและหุ้นส่วนทางธุรกิจอื่นๆเพื่อตั้งเป้ารณรงค์ด้านการตลาดกับผู้บริโภคในเรื่องพฤติกรรมการซื้อหรือความสนใจ ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้มากถึง 30% ซึ่งมากกว่าการทำตลาดทางโทรศัพท์ (Telemarketing) หรือไปรษณีย์โดยตรง (Direct Mail)
เราต้องการข้อมูลเป็นอย่างมาก” Dave Johnson ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายพัฒนาระบบของหน่วยโทรศัพท์การตลาดของ MCI ใน Denver กล่าว โดยนำรายชื่อจากภายนอกมาผ่านกระบวนการเพื่อให้แน่ใจว่าชื่อลูกค้า ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์นั้นถูกต้อง
นักวิเคราะห์การตลาดตรวจสอบรายชื่อภายนอก เพื่อให้แน่ใจว่ายังเป็นปัจจุบันและเป็นสารสนเทศที่
MCI ต้องการ รวมทั้งชื่อลูกค้ารายใหม่ด้วย เราจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อให้ได้ข้อมูลและเราต้องแน่ใจว่าได้ของดีคุ้มกับเงินที่จ่ายไป” Johnson กล่าว
ต้นทุนของข้อมูลภายนอกค่อนข้างสูง เช่น หน่วยบริการสารสนเทศสุขภาพของ National Data Corporation ใน Phoenix คิดค่าใช้จ่ายกว่าล้านเหรียญสหรัฐสำหรับข้อมูลเภสัชกรรมที่ได้เก็บรวบรวมและขายให้กับหน่วยงานธุรกิจ
Mary Ann Beach รองประธานอาวุโสฝ่ายจัดการสารสนเทศการตลาด ของ First American Corporation ใน Nashville กล่าวว่า รายการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดข้อมูลมากมาย สารสนเทศลูกค้าของที่จัดเก็บมีทั้งภายในและภายนอกจำนวนเท่าๆกัน แต่ข้อมูลภายนอก เป็นความลับวิธีการที่ทำเงินให้เราในการรณรงค์ทางด้านการตลาด


กรณีศึกษาจริง
Vtel  Corporation : การบูรณการโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจกับคลังข้อมูล
Vtel Corporation ตั้งอยู่ที่เมือง Austin รัฐ Texas ทำระบบประชุมสื่อประสมดิจิตอลสำหรับอินทราเน็ตของธุรกิจ เอ็กซ์ทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต บริษัทวางแผนเปลี่ยนระบบธุรกิจที่ใช้ในปัจจุบันเป็นโปรแกรมประยุกต์ Oracle ระบบซอฟต์แวร์ธุรกิจแบบบูรณาการและคลังข้อมูลจาก Oracle โดยเริ่มจากการรวม Vtel และ Compression Labs Inc. ในเมือง San Jose รัฐ California และข้อเท็จจริงที่ว่าบริษัททั้งสองโตเกินกว่าที่จะใช้ระบบเชิงปฏิบัติการเดิมของเขา
ในปี 1989 เราทำยอดขายได้ 2 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ปัจจุบันเราทำยอดขายถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ” Rodney Bond เจ้าหน้าที่หัวหน้าการเงินอธิบาย เรากำลังเฝ้าดูการเติบโตของการขยายใหญ่ซึ่งระบบนี้อาจจะวิกฤตได้
เมื่อบริษัทตัดสินใจที่จะใช้โปรแกรมประยุกต์ Oracle บริษัทเลิกแผนการเลื่อนชั้นคลังข้อมูลปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยฐานข้อมูล Oracle กินเนื้อที่ 10G bytes ตั้งอยู่บนเครื่องแม่ข่าย SPARC 20 ของ Sun Microsystems โดยบริษัทจะใช้คลังข้อมูลที่มากับโปรแกรมประยุกต์บูรณาการใหม่นี้แทน
ความตั้งใจของเราคือการนำบทเรียนจากคลังข้อมูลปัจจุบันเพื่อเคลื่อนไปข้างหน้า” Steve Cox รองประธานและเจ้าหน้าที่หัวหน้าสารสนเทศของบริษัทกล่าว บทเรียนสำคัญที่ Cox กล่าวถึงคือ มูลค่าของคลังข้อมูลและเครื่องมือวิเคราะห์ของธุรกิจ คลังข้อมูลช่วยให้เราเข้าใจธุรกิจ ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจได้” Bond อธิบายว่า ผู้อำนวยการเขตการขายสามารถเข้ามาในคลังได้ทุกวันและค้นหา นี่เป็นยอดขายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของฉันแทนที่จะรอคอยรายงานที่มาจากการเงิน
คลังข้อมูลปัจจุบันอยู่ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ Oracle นอกจากนี้คลังใหม่ยังรวมสารสนเทศหลายๆประเภท รวมทั้งเพิ่มข้อมูลการบริการลูกค้าสำหรับการดำเนินงานในต่างประเทศ เช่น เรื่องยอดขาย การตลาด และข้อมูลการเงิน
คลังข้อมูลใหม่รวมกิจกรรมซอฟต์แวร์ประจำที่ทำหน้าที่บีบและแปลงข้อมูลจากฐานข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงเชิงสัมพันธ์ Oracle เดิมของบริษัทและย้ายไปเป็นคลังข้อมูลใหม่ซึ่งเป็นฐานข้อมูลหลายมิติ จัดการโดยเครื่องแม่ข่าย Oracle Express ผู้ใช้จะใช้ Discover ซึ่งเป็นเครื่องมือสอบถามและจัดทำรายงาน เช่นเดียวกับเครื่องมืออื่นจากผลิตภัณฑ์ของ Oracle Express เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ
Cox เพิ่มเติมว่าเขาคาดหวังว่าผู้ใช้จะชอบเครื่องมือสำหรับออกรายงานใหม่นี้มากกว่าเครื่องมือเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่อนุญาตให้มองหาข้อมูลที่จัดระเบียบในหลายแนวทาง เช่น แผนภูมิพาย (Pie Chart) และกราฟแท่ง (Bar graph) จากเดิมที่แสดงในรูปตารางเท่านั้น
แน่นอนว่าการเปลี่ยนไปยังคลังข้อมูลสำเร็จรูปแบบบูรณาการและโปรแกรมประยุกต์จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมครั้งใหญ่ ซึ่งอาจจะเป็นส่วนที่ยากที่สุด สิ่งท้าทายคือการทำให้ทุกคนพอใจสมความต้องการโดยเจ็บปวดน้อยที่สุดและยังคงสร้างสิ่งที่เราสามารถสนับสนุนได้ตามปกติ” Cox กล่าว



วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 4

คำถามกรณีศึกษา
Sear,MCI และ First American : คลังข้อมูลกะบสารสนเทศภายนอก

1. Sear ใช้ข้อมูลภายนอกในคลังข้อมูลเพื่อปรับปรุงธุรกิจได้อย่างไร
    ตอบ Sear ศึกษาข้อมูลเรื่องการบริโภคของประชากรในคลังข้อมูลเพื่อพิจารณาตัดสินใจ  เรื่องสถานที่ตั้งของของร้านใหม่ ข้อมูลเปรียบเทียบด้านการตลาดได้ช่วย Sear ในเรื่องการเปรียบเทียบผลการดำเนินการธุรกิจของร้านกับคู่แข่ง

2. ข้อมูลทางธุรกิจ ( Business Value) อะไรที่ MCI ได้รับจากคลังข้อมูลภายนอก
    ตอบ สำหรับ MCI และ First American ใช้ข้อมูลในคลังเรื่องพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าของตนและลูกค้าของธุรกิจอื่น  เพื่อปรับปรุงการโฆษณาการตลาดให้ประสบความสำเร็จ โดยการรวมข้อมูลภายในและภายนอกของลูกค้าและข้อมูลการตลาดในคลังข้อมูล ทำให้บริษัทสามารถวิเคาระห์ผลการดำเนินกิจการและกำหนดยุทธศาสตร์การตลาดได้ดีขึ้น

3. ท่านคิดอย่างไรที่ Mary Ann Beach หมายถึงเมื่อเธอกล่าวถึงข้อมูลภายนอกว่าเป็น "ความลับวิธีการที่ดำเนินการให้เรา" ในการรณรงค์ทางด้านการตลาด
    ตอบ  ข้อมูลภายนอก "เป็นความลับวิธีการที่ทำเงินให้เรา" ในการรณรงค์ทางด้านการตลาด



คำถามกรณีศึกษา
Vtel  Corporation : การบูรณาการโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจกับคลังข้อมูล
1. ผลประโยชน์ทางธุรกิจอะไรที่บริษัทคาดหวังจากการเปลี่ยนคลังข้อมูลและระบบธุรกิจปัจจุบันเป็นโปรแกรมประยุกต์ Oracle Suite
    ตอบ ช่วยให้เข้าใจธุรกิจ  ทำให้เราสามารถถวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจได้

2. บทเรียนทางธุรกิจอะไรที่  บริทเรียนรู้จาการใช้คลังข้อมูลปัจจุบัน
    ตอบ คลังข้อมูลปัจจุบันอยู่ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ Oracle นอกจากนี้คลังใหม่ยังรวมสารนเทศหลสยไประเภท  รวมทั้งเพิ่มข้อมูลการบริการลูกค้าสำหรับการดำเนินงานในต่างประเทศ เช่น เรื่องยอดขาย การตลาด และข้อมูลการเงิน

3. ข้อได้เปรียนและเสียเปรียบที่มีต่อผู้ใช้ของธุรกิจในการย้ายไปใช้โปรแกรมประยุกต์ Oracle Suite
    ตอบ  คลังขัอมูลใหม่รวมกิจกรรมซอฟแวร์ประจำที่ทำหน้าที่บีบและแปลงข้อมูลจากฐานข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงเชิงสัมพันธ์ Oracle เดิมของบริษัทและย้ายไปเป็นคลังข้อมูลใหม่วึ่งเป็นฐานข้อมูลหลายมิติ  จัดการโดยเครื่องแม่ข่าย Oracle Express ผู้ใช้จะใช้ Discover  ซึ่งเป็นเครื่องมือสอบถามและจัดทำรายงาน เช่นเดียวกับเครื่องมือื่นจากผลิตภัณฑ์ของ Oracle Express เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ


นางสาวอัมรินทร์ หงษ์นัย บ.กจ. 3

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 2 พื้นฐานของระบบสารสนเทศ

แนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศพื้นฐาน (Fundamental Information System Concept)
              จากแนวคิดเรื่องระบบ (System Concept) มาเป็นรากฐานของระบบสารสนเทศ ที่แสดงให้เห็นถึงการนำระบบไปใช้ในองค์กรธุรกิจ รวมทั้งส่วนประกอบและกิจกรรมของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจแนวคิดอื่นๆ ของเทคโนโลยี โปรแกรมประยุกต์ การพัฒนา และการจัดการระบบสารสนเทศ
การวิเคราะห์ American Management System
               กรณีศึกษาของ American Management System จะช่วยให้ในการเรียนรู้เรื่องประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้ระบบสารสนเทศในธุรกิจ
ศูนย์ความรู้ของ AMS เป็นหนึ่งในหลายๆรูปแบบของระบบสารสนเทศ ซึ่งมีส่วนประกอบพื้นฐานดังนี้
               ทรัพยากรบุคคล ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และเครือข่าย
               สิ่งที่สนับสนุน ข้อมูลเข้า การประมวลผล ข้อมูลออก จัดเก็บและกิจกรรมควบคุม (Control Activities)
              ผลิตภัณฑ์สารสนเทศ (Information Products) ที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้ (End User) กรณีศึกษาจริง
American Management System: ผลประโยชน์ทางธุรกิจของการจัดการองค์ความรู้
                เหมือนพนักงานส่วนมากที่ยังใหม่ต่อบริษัท ดังนั้นเมื่อ แอนดรู เจเวล ผู้จัดการการจัดการโครงแบบในกลุ่มที่ปรึกษาอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภค ต้องศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของหน่วยงาน เขาจึง Log On เข้าสู่ศูนย์ความรู้ของ AMS ซึ่งมีหัวข้อ การให้คำแนะนำการปฏิบัติงานที่ดี’ (The Consulting Firm’s Best Practices) บนอินทราเน็ต
               เจเวล กล่าวว่า ศูนย์ความรู้เป็นจุดติดต่อที่สามารถตรวจสอบทรัพยากรทั้งหมดขององค์กร ถ้าไม่มีศูนย์นี้เขาคงวนอยู่ในกงล้อ
                แนวคิดดังกล่าวเป็นการรวบรวมความรู้ของธุรกิจมาไว้ที่ปลายนิ้วของพนักงาน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นของระบบการจัดการองค์ความรู้ เป้าหมายพื้นฐานคือการนำข้อมูลที่เป็นกุญแจจากแหล่งต่างๆ เช่น กรุ๊ปแวร์ (Groupware) ฐานข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ และความรู้สึกของผู้ใช้ เป็นต้น มาจัดเรียงให้อยู่ในรูปแบบเชิงตรรกะ เพื่อนำเสนอแหล่งความรู้สำหรับผู้ใช้ในองค์กร
                AMS มีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญอยู่มาก จึงสร้างคณะทำงานศูนย์ความรู้เพื่อกระตุ้นให้ที่ปรึกษาเพิ่มในหัวข้อ การให้คำแนะนำการปฏิบัติงานที่ดีอย่างน้อยหนึ่งโครงการต่อปี โดยที่ปรึกษาอาวุโสจะเป็นผู้ตรวจเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งของเอกสารเหล่านั้น และใช้ฐานข้อมูล Lotus Notes ทำดัชนี ให้เข้าถึงด้วยโปรแกรมต่อประสานของ Notes เพื่อค้นหาฐานข้อมูลผ่านแม่ข่ายเว็บ Lotus Domino
แนวคิดเรื่องระบบ (System Concept)
                การประมวลผล (Process) เกี่ยวข้องกับการแปลงข้อมูลนำเข้าให้เป็นข้อมูลออก ตัวอย่างเช่น กระบวนการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม กระบวนการหายใจของมนุษย์ หรือ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
                การส่งออก/ข้อมูลออก/การแสดงผล/ผลลัพธ์ (Output) เกี่ยวข้องกับการโอนข้อมูลส่วนย่อยที่ถูกผลิตโดยการประมวลผลส่งไปยังปลายทาง ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การให้บริการและสารสนเทศการจัดการที่ถูกถ่ายทอดไปยังผู้ใช้ ระบบเป็นกลุ่มข้อมูลส่วนย่อย (Elements) ที่เกี่ยวพันกันหรือทำงานร่วมกันเพื่อประกอบให้เป็นหนึ่งเดียว
               ระบบ (System) คือ กลุ่มของส่วนประกอบที่มีความเกี่ยวพันระหว่างกัน มีการทำงานร่วมกันเพื่อเป้าหมายเดียวกัน โดยการรับข้อมูลเข้าและผลิตข้อมูลออกจากการประมวลผล บางครั้งเรียกว่า ระบบพลวัต (Dynamic System) ประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐาน 3 อย่างคือ
               การนำเข้า/ข้อมูลนำเข้า (Input) เกี่ยวข้องกับการจับและรวบรวมข้อมูลส่วนย่อยที่ถูกป้อนเข้าสู่ระบบเพื่อใช้ในการประมวลผล ตัวอย่างเช่น วัตถุดิบ พลังงาน ข้อมูล ความพยายามของมนุษย์ที่ต้องการความปลอดภัย และการรวบรวมเพื่อประมวลผล เป็นต้น
ผลป้อนกลับและการควบคุม (Feedback and Control)
             ผลป้อนกลับ/ผลสะท้อน/ผลส่งกลับ (Feedb ack) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของระบบ เช่น ข้อมูลการปฏิบัติงานของพนักงานขายเป็นผลป้อนกลับไปยังผู้จัดการฝ่ายขาย เป็นต้น
การควบคุม (Control)
           เป็นการเฝ้าสังเกตและการประเมินผลป้อนกลับว่าระบบได้ดำเนินไปใกล้เป้าหมายหรือไม่ หน้าที่การควบคุมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการปรับปรุงข้อมูลนำเข้าและกระบวนการประมวลผลเพื่อให้ได้ข้อมูลออกที่เหมาะสม เช่น ผู้จัดการฝ่ายขายได้รับสิทธิ์ควบคุมพนักงานขายใหม่ที่อยู่ในเขตการขายของตน เป็นต้น
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ (Components of an Information Systems)
           ทรัพยากรบุคคล รวมทั้งผู้ใช้ และผู้เชี่ยวชาญสารสนเทศ ทรัพยากรฮาร์ดแวร์อันประกอบด้วยเครื่องจักรและสื่อต่างๆ              ทรัพยากรซอฟต์แวร์ซึ่งรวมถึงโปรแกรมและกระบวนคำสั่ง ทรัพยากรข้อมูลอันได้แก่ข้อมูลและฐานความรู้ และ               ทรัพยากรเครือข่ายซึ่งรวมทั้งสื่อการติดต่อสื่อสารและเครือข่าย
            ทรัพยากรข้อมูล ถูกแปลงรูปโดยกิจกรรมการประมวลผลสารสนเทศให้อยู่ในรูปสารสนเทศสำหรับผู้ใช้
                  การประมวลผลสารสนเทศ ประกอบด้วย ข้อมูลเข้า การประมวลผล ข้อมูลออก จัดเก็บข้อมูล และกิจกรรมควบคุม
กรณีศึกษาจริง
American General Insurance : เดินหน้าไปกับระบบเร่งรัดการขายอัตโนมัติ
                ไมเคล เบ็ทส์ รองประธานผ่ายบริการสารสนเทศ (Information Services) ของบริษัท American General Life & Accident Insurance ที่เมืองแนซวิล ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้คิดระบบเร่งรัดการขายอัตโนมัติและสารสนเทศการจัดการการตลาด ซึ่งเขาหวังว่าจะช่วยประหยัดเงินได้เป็นล้านดอลล่าร์ เพื่อสร้างธุรกิจใหม่และเปลี่ยนรูปกระบวนธุรกิจทั้งหมด สำหรับพนักงานขายของบริษัท 7,000 คนและลูกค้าอีกเกือบ 6 ล้านราย
                   เบ็ทส์กล่าวว่า พอแล้วต้องหยุดให้ได้ ไม่เพียงแต่ต้องเลิกระบบทั้งหมด เขายังมองไปถึงอนาคตของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และวางแผนที่จะประหยัดเงินบริษัท ในการที่จะให้พนักงานขายแต่ละรายมีสำนักงานส่วนตัวโดยแท้จริงและเป็นสำนักงานไร้กระดาษ โดยอาศัย 3 สิ่งคือ Fujitsu Stylistic 1000 ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาด Tablet ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ได้พัฒนาให้เหมาะกับงาน และการขยายตัวของอินทราเน็ตบริษัท

ประเภทของระบบสารสนเทศ (Type of Information Systems)
1. ระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ (Operations Support Systems)
      1.1. ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction Processing Systems : TPS)
               หมวดงานหลักของระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ ได้แก่ ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะบันทึกและประมวลผลข้อมูลจากรายการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของรายการซื้อ ขาย และสินค้าคงคลัง โดยจะประมวลผลเพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลลูกค้า สินค้าคงคลัง และอื่นๆให้ทันสมัย ฐานข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นแหล่งทรัพยากรข้อมูลที่สามารถนำมาใช้งานโดยฝ่ายจัดการภายใต้ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจ และระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร
       1.2. ระบบการควบคุมการประมวลผล (Process Control Systems)
                ระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ จะใช้กับการตัดสินใจงานประจำในการควบคุมกระบวนการปฏิบัติการ เช่น การตัดสินใจในเรื่องการบันทึกสินค้าคงคลัง และกระบวนการควบคุมการผลิตอัตโนมัติ ที่เรียกว่า ระบบการควบคุมการประมวลผล ที่จะตัดสินใจอัตโนมัติโดยคอมพิวเตอร์ เช่น โรงกลั่นน้ำมันดิบใช้เครื่องรับรู้อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Sensors) เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อเฝ้าสังเกตกระบวนการทางเคมี ที่ตรวจจับและประมวลผลโดยเครื่องรับรู้และทำการปรับกระบวนการกลั่นน้ำมันทันที
         1.3. ระบบความร่วมมือองค์กร ( Enterprise Collaboration Systems)
                 ระบบความร่วมมือองค์กร เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งปันทรัพยากร และการประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกันทั้งแบบเป็นทางการและแบบไม่เป็นทางการของทีมโครงการและกลุ่มงาน ซึ่งเป้าหมายคือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมการสร้างผลผลิตและการคิดสร้างสรรค์ให้แก่คณะทำงานและกลุ่มงานในองค์กรธุรกิจสมัยใหม่
2. ระบบสนับสนุนการจัดการ (Management Support Systems : MSS)
           ระบบสารสนเทศ ที่เน้นการจัดเตรียมสารสนเทศและสนับสนุนการตัดสินใจที่เกิดประโยชน์แก่ผู้จัดการ เรียกว่าระบบสนับสนุนการจัดการ ที่เกิดจากแนวคิดของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เมื่อปี 1960 ที่รวมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และทฤษฏีระบบของการประมวลผลข้อมูลองค์กรเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 ประการคือ
เน้นในเชิงการจัดการ (Management Orientation) เทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจ เป้าหมายหลักคือระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจของฝ่ายจัดการ (Management Decision Making) ไม่ใช่ทำเฉพาะการประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการดำเนินงานของธุรกิจเท่านั้น
เน้นกรอบของระบบ (Systems Framework) สำหรับการจัดระเบียบโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศ โดยมีทรรศนะว่าโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน แบบประสานและบูรณาการ ไม่ใช่เป็นงานการประมวลผลข้อมูลแบบอิสระ
                 2.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS)                  2.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS)
                2.3 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information Systems : EIS)
3. การจำแนกระบบสารสนเทศอื่นๆ (Other Classifications of Information Systems)
          ยังมีระบบสารสนเทศอื่นที่สามารถสนับสนุนทั้งโปรแกรมประยุกต์เชิงปฏิบัติการและเชิงจัดการ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบการจัดการองค์ความรู้ ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ และระบบสารสนเทศธุรกิจ
         3.1 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
         3.2 ระบบการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management Systems)
         3.3 ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (Strategic Information Systems)
         3.4 ระบบสารสนเทศเชิงธุรกิจ (Business Information Systems)
         3.5 ระบบสารสนเทศแบบบูรณาการ (Intergrated Information Systems)
http://sites.google.com/site/it514249124/thekhnoloyi-phun-than-khxng-rabb-sarsnthes